ทำไมคุณถึงไม่ควรเปลี่ยนเกียร์ ไปๆ มาๆ ระหว่้างติดไฟแดง ?
เราต้องเข้าใจการทำงานที่เกิดขึ้นภายในชุดเกียร์ ของทั้งตำแหน่ง N และ D กันก่อน
ภายใน ลูก Torque Converter ในแนวนอน
ภายในลูก Torque Converter ในแนวตั้ง < /SPAN>
1. หากตำแหน่งเกียร์ ของคุณ อยู่ที่ เกียร์ N หรือ Neutral เกียร์ว่าง
เบรคแบนด์ และคลัชต์ทุกชุดจะอยู่ในตำแหน่งลอยตัว หมุนฟรี ปราศจากแรงขับดัน ไฮโดรลิค จากลูกทอร์ค คอนเวอร์เตอร์
( เมื่อ เครื่องยนต์ อยู่ในรอบเดินเบา ช่วง 750-1,000 รอบ/นาที ชุด Impeller turbine จะไม่เหวี่ย งสลัดแรงดันน้ำมันไฮโดรลิค
ไปที่กลีบร่อง สเตเตอร์
Slator ปกติแล้ว จะทำงาน โดยหมุนไปทางขวา
ดังนั้น แรงขับดันของ ทอร์ค คอนเวอร์เตอร์ ที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิด จึงผ่านเข้าไปตาม ชิ้นส่วนต่างๆที่เคลื่อนไหวได้ หรือ moving part
ตัดการทำงานของคลัชต์ทุกชุ ด รวมถึงปล่อย เบรกแบนด์ ให้ลอยตัว) หรือเรียกว่า Free Load P ressurize ก็ได้
2. หากตำแหน่งเกียร์ ของคุณ อยู่ที่ เกียร์ D หรือ Drive ขับเคลื่อนทันทีที่โยกคันเกียร์ เข้าไปที่ D ในรถรุ่นต่างๆ บางรุ่น
อาจใช้ 1st Speed Shift Valve เปิด ทำงานต้นกำลัง (เข้าใจแบบง่ายๆว่า ออกตัวด้วยเกียร์ 1)
แต่ถ้าเป็นรถยนต์ที่มีกำลังสูงๆ รถขนาดกลาง หรือ ใหญ่ มักจะถูกออกแบบให้ 2nd Speed Shift Valve
เป็นชุดทำงานต้นกำลัง ( เข้าใจแบบง่ายๆว่า ออกตัวด้วยเกียร์ 2)
เหตุผลก็คือ เพื่อช่วย ซับอาการกระชาก หรือสะท้าน ขณะออกรถจากจุดหยุดนิ่ง ด้วยกำลังม้าสูงๆ
ภาพของชุดเกียร์อัตโนมัติ 4 จังหวะ ใน Honda Accord รุ่นปี 1995 เครื่องยนต์ 4 สูบ
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าตำแหน่ง D ไม่ว่า รถจะออกตัวด้วย เกียร์ 1 หรือ 2 ก็ตาม
- ในรถรุ่นเก่าๆ ที่ใช้ แรงดันน้ำมันไฮโดรลิค ในการเปลี่ยนเกียร์ จะใช้ชุด " Valve Body"...
- ในรถรุ่นใหม่ๆ ที่ใช้ระบบไฟฟ้าควบคุมการเปลี่ยนเกียร์ จะใช้ " สมองกลเกียร์ อีเล็กโทรนิคส์"
เพื่อจะสั่งงาน บรรดาชิ้นส่วนอะไหล่ ประเภทเคลื่อนไหวตัวได้ หรือ Moving parts ดังต่อไปนี้ ให้ทำงาน
ชิ้นส่วนที่ว่ านั้น มีชื่อเรียกดังนี้
- Manual Valve , Governor Valve , Break Band Control Valve , และวาล์วช่วยควบคุมตัวอื่นๆตามแต่ละรุ่นเกียร์ลูกนั้นๆ
- ชุดคลัชต์ (Clutch) เช่น Reverse Clutch , Oveerum Clutch , 2nd Clutch , 3rd Clutch , 4th Clutch และชุดเพิ่มเติม
- 1st , 2nd และ 3rd Brake band ที่เกียร์บางรุ่น มีมากกว่า 1 Band
- Torque Converter ( ทอร์ค คอนเวอร์เตอร์) จะหมุนกำลังขับดันผ่าน Input Shaft ขับชุดเกียร์ต้นกำลัง
ให้ขับเกียร์ถ่ายกำลังผ่าน Output Shaft ออกสู่เพลา ให้ไปขับหมุนล้อรถต่อไป
Valve ต่างๆข้างต้นนี้ บางตัวมาในรูปของ Check ball ลูกกลมๆ บางตัว แบน มีรูจ่ายแรงดันอยู่ตรงกลาง
เช่น Orifice Valve บางตัวเป็นลูกสูบขนาดนิ้วก้อย เช่น Shift Valve
Brake band Supply Valve หรือ มอเตอร์ อีเล็กโทรนิกส์ โซลินอยด์ ขนาดจิ๋ว และอีกสารพัดวาล์ว
ภาพคอมพิวเตอร์กราฟฟิค จำลองภายในชุดเกยร์ของ Audi TT 3.2 Quattro พร้อมระบบ เกียร์แบบ DSG (Direct Shift Gearbox)
เอาละครับ สำหรับคำถามที่ว่า ผลลัพธ์ของการเข้าเกียร์ N-D-N บ่อยๆ อะไรจะเกิดขึ้นนั้น สรุปได้สั้นๆว่า
1. ตำแหน่ง N อย่างที่อธ ิบายไว้ด้านบน หากรถจอดนิ่ง อยู่ในรอบเดินเบา การทำงานของชิ้นส่วนต่างๆ หยุดขับดันชั่วขณะ
2. ตำแหน่ง D ชิ้นส่วนในชุดเกียร์ ประเภท Moving Parts ทั้งหลาย ที่เกี่ยวข้องกับการออกรถ จะทำงานขับแรงดัน ตามที่ผู้ขับขี่เร่งรอบเครื่องยนต์
3. ทุกครั้งที่ ลูก ทอร์ค คอนเวอร์เตอร์ จะหยุดขับแรงดัน (เกียร์ N) และขับแรงดันต่อ (หรือ เกียร์ D) อัตราแปรผันภายใน Valve body
และภายในห้องเกียร์ จะมีไม่ต่ำกว่า 2-5 bar สำหรับต้นกำลังในการออกรถ เกียร์บางรุ่น ใช้แรงดันที่แตกต่างไปตามลักษณะการใช้งาน เช่น 1.5 - 7.0 bar ก็มี
โปรดสังเกตความแตกต่างระหว่างแรงดันต่ำ จาก 2 bar แล้ววาล์ว จะต้องถูกเปิดด้วยแรงดันสูงถึง 5 bar ในเวลาเพี้ยงเส ี้ยววินาทีเท่านั้น!
ทุกครั้งของการเปิด-ปิด ก่อให้เกิดความสึกหรอของ ชิ้นส่วนอะไหล่จำพวก Moving parts ภายในเรือนเกียร์ ทุกชิ้น!
** นั่นหมายความว่า หากเข้าเกียร์ N ไป D แล้ว และสลับกลับไป N บ่อยๆ อยู่เป็นนิจ จะเป็นการบั่นทอนอายุการใช้งานของเกียร์อัตโนมัติลงถึง 50 % !! ไม่ควรเปลี่ยน Gear จาก D ไป N บ่อย ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น