เรื่องแปลก ใหม่ น่าสนใจ ข่าวสาร บันเทิง สนุก เซ็กซี่ sexy ที่คุณ อยากรู้ ที่นี่ครับ ^^

SAMAZshop

Translate

เทรนนี้มาแรง รวมดารา แพลงกิ้ง ไม่แคร์สื่อ ( ภาคต่อ )

วู้ดดี้



บี้ เดอะสตาร์


บอย ปกรณ์


น้าเน็ก


ไอซ์ ศรัณยู


โอ อนุชิต


ว่าน เป้ เชาเชา


เอกกี้


เคน วงซิล


หมาก ปริญ


แสตมป์


บอย พิษณุ

เทรนนี้มาแรง รวมดารา แพลงกิ้ง สุดเหวี่ยง ไม่แคร์สื่อ ( อั้มก็ เอากะเค้าด้วย ;)

รวมดารา แพลงกิ้ง สุดเหวี่ยง ไม่แคร์สื่อ
…..ก่อนอื่นมาทำความรู้จัก (สำหรับคนที่ไม่รู้ ) แพลงกิ้ง คือการนอนราบคว่ำหน้าบนพื้นที่แปลกๆ คล้ายกับคนเสียชีวิต โดยเป็นการทำท่าที่ยากพอสมควร เพราะต้องมีการจัดความสมดุลของร่างกายให้พอดี จากนั้นก็ถ่ายภาพอวดกัน จนกลายเป็นเกมส์อย่างหนึ่ง ที่เล่นกันสนุกสนานแพร่หลายในโลกออนไลน์ และเฟซบุ๊กทั่วโลก 

…..แล้วก็มาดูกันเลย ว่าเหล่าดารา เค้าก็บ้าดีเดือด ฮากันกระจาย กับไอเดีย แพลงกิ้ง สไตล์ใครสไตล์มัน ไปดูกันเลยจร๊าาา 
  
โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม และเด็กๆไม่ควรเลียนแบบนะคะเด้อค๊าา

มาดู แพลงกิ้ง แบบสาวๆ กันก่อนดีกว่า

ไม่น่าเชื่อว่า เจ๊อั้ม พัชราภา ก็เล่นกะเค้าด้วย
ภาพจาก FB / ป้อง ณวัตร 


คุณแม่ธัญญ่า จับน้องลียา แพลงกิ้งซะเลย

เมย์ พิชย์นาถ ยังอุตส่าห์เอาผ้ามารองหน้าโน๊ะ

นานา กับ ดีเจบอย

โน๊ต อุดม มาแพลงกิ้ง บนฉากรายการผู้หญิงถึงผู้หญิง


พี่ตุ้ยตุ่ย ขำๆที่บ้าน

เก๋ ชลลดา เล่น แพลงกิ้ง2ชั้นเลยทีเดียว

จ๋า ยศสินี ขั้นกว่า..

พี่นก สินจัย วัยรุ่นซะไม่มี

วุ้นเส้น ไม่ยอมน้อยหน้า

เปิ้ล ภารดี เบาเบา

มาร์กี้ ราศรี เห็นหน้าหวาน แต่โก๊ะสุดๆ

นก สิขรินธาน ช่างกล้านะเธอ

ก็ สาวสมัยนี้ กิจกรรม มันเยอะ ( แต่เธอ ก็ สามารถ )


ก็ สาวสมัยนี้ กิจกรรม มันเยอะ 

เลวิเทติ้ง เทรนด์ฮิตใหม่ จ่อกลบกระแสแพลงกิ้ง

เลวิเทติ้ง เทรนด์ฮิตใหม่ จ่อกลบกระแส แพลงกิ้ง







          เลวิเทติ้ง เทรนด์ฮิตใหม่ ทำตัวลอยในอากาศต้านแรงโน้มถ่วงโลก จ่อกลบกระแส แพลงกิ้ง 

          เรียกได้ว่าไม่ว่าจะหันไปทางไหนตอนนี้ในสังคมออนไลน์ของไทย ก็มักจะพบกับภาพการทำท่าแพลงกิ้งที่ถูกโพสต์ขึ้นแทบทุกหนทุกแห่ง และยิ่งได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ หลังมีดาราไทยหลายต่อหลายคนฮิตมาทำท่าแพลงกิ้ง แล้วถ่ายภาพมาโพสต์ลงทั้งในเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์ จนตอนนี้วัยรุ่น - ลูกเด็กเล็กแดง - หนุ่มสาวออฟฟิศต่างก็จ้องจะประชันภาพการแพลงกิ้งสวย ๆ เจ๋ง ๆ ที่ตัวเองทำได้ให้คนอื่นได้ชมกัน

          แต่ในขณะเดียวกัน ในประเทศแถบตะวันตกและญี่ปุ่น เทรนด์การทำท่าแพลงกิ้งถือได้ว่าเริ่มเอาท์เอยเชยแหลกไปซะแล้ว เมื่อมีเทรนด์ท่าถ่ายรูปใหม่ถือกำเนิดขึ้นมา นั่นก็คือ "เลวิเทติ้ง" หรือ"Levitating" ซึ่งจะเป็นการถ่ายภาพในขณะที่ร่างกายเรากำลังลอยค้างอยู่บนอากาศ เหมือนเรามีวิชาตัวเบาลอยตัวได้ โดยผู้นำเทรนด์ดังกล่าวก็คือสาวน้อยหน้าใสชาวญี่ปุ่นนามว่า นัทสึมิ ฮายาชิ (Natsumi Hayashi) ที่โพสต์ภาพที่เธอทำท่า เลวิเทติ้ง ทุก ๆ วันลงบนเว็บไซต์ส่วนตัวของเธอนั่นเอง

          ฮายาชิ ได้เปิดเผยแรงบันดาลใจในการถ่ายภาพในท่าเลวิเทติ้งนั้นเกิดมาจากเธอปิ๊งไอเดียการถ่ายภาพแบบนี้ หลังจากได้ยินสำนวนที่ว่า "เท้าที่เหยียบยืนบนผืนดิน แสดงให้เห็นว่าเราต่างก็เป็นคนอย่างแท้จริง" ซึ่งสำหรับเธอแล้ว เธอไม่อยากจะเป็นเช่นคนธรรมดาคนหนึ่ง จึงทำตัวเองให้แตกต่างจากคนทั่วไปโดยการกระโดดขึ้นบนอากาศด้วยท่วงท่าต่าง ๆ แล้วถ่ายภาพขณะลอยตัวด้วยกล้องชัตเตอร์ความเร็วสูง ซึ่งภาพที่ออกมานั้นก็ทำให้เธอแตกต่างจากคนอื่นสมใจ เพราะมันแสดงให้เห็นว่าเธอกำลังลอยตัวอยู่บนอากาศอย่างเป็นธรรมชาติเลยทีเดียว แต่กว่าจะได้ภาพที่เป็นธรรมชาติและสมบูรณ์แบบออกมา 1 ภาพ ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย เพราะเธอต้องกระโดดประมาณ 60 ครั้งโดยเฉลี่ยกว่าจะได้ช็อตที่ต้องการ และบางภาพก็ต้องกระโดดถึง 300 กว่าครั้งเลยก็มี 

 

          สำหรับคำว่า เลวิเทติ้ง หากแปลกันอย่างตรง ๆ ก็คือการต้านแรงโน้มถ่วงโลก หรือการที่ส่วนหนึ่งส่วนใดของสิ่งของไม่สัมผัสกับพื้นโลกเลย อย่างเช่นการที่แม่เหล็กขั้วเดียวกันดันตัวออกจากกัน และหลักการนี้ก็ถูกนำมาใช้ในการสร้างรถไฟแมกเลฟ (Maglev) ที่เหมือนรถไฟลอยได้อยู่บนราง แต่จริง ๆ แล้วเป็นการใช้ทฤษฎีเลวิเทชั่นมาสร้างนั่นเอง

          ทั้งนี้ ขณะนี้ การถ่ายภาพแนวเลวิเทติ้งเริ่มจะได้รับความนิยมกันไปทั่วโลกแล้ว โดยเฉพาะในแถบอเมริกาใต้ ไปจนถึงสแกนดิเนเวีย และญี่ปุ่น ส่วนจะเข้ามาเป็นกระแสฮอตฮิตในเมืองไทยเมื่อไหร่ ทีนี้ก็ต้องรอติดตามกันต่อไปแล้วล่ะ 































 

‘Planking' เทรนด์ถ่ายภาพฮิต ที่ ธัญญ่า"กับ"ลียา ก็เอากับเค้าด้วย






ข้อมูลเพิ่มเติม

เทรนด์ถ่ายภาพท่า ‘Planking' หรือการนอนนิ่งๆ เป็นไม้กระดาน กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ หรือเปล่า 

ถ้าจะจำกัดความเกมที่ได้ชื่อว่า ‘Planking' นี้ ก็คงจะเป็นการนอนคว่ำ ทำตัวเหยียดตรงเหมือนไม้กระดาน และจะต้องเลือกสถานที่ๆ แปลกพิสดาร ยิ่งแปลกเท่าไหร่ ภาพที่ถ่ายออกมาก็จะยิ่งมีความน่าสนใจมากขึ้น

Planking เป็นเกมที่ได้รับความนิยมอยู่ภายในประเทศออสเตรเลีย แต่ในขณะนี้กำลังแพร่ขยายออกไปนอกประเทศแล้วเรียบร้อย หลังจากที่สถิติจาก Google Insights บอกว่า Planking กลายเป็นคำที่คนค้นหามากที่สุดคำหนึ่งภายในระยะเวลา 7 วัน ในช่วงก่อนวันที่ 23 พฤษภาคม

เชื่อกันว่า เทรนด์ของการเล่นเกม "Planking" นี้ น่าจะเริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในออสเตรเลีย แม้ว่าจะมีต้นกำเนิดมาจากเกมที่คล้ายคลึงกันในที่อื่นๆ ทั่วโลก เช่น เกม "lying down" ที่ป๊อปปูลาร์ไปทั่วยุโรปในช่วงปี 1997 และ 2006 ซึ่งเป็นเกมที่มีลักษณะคล้ายกับเกม planking มากๆ

เกมที่ดูปลอดภัยไร้อันตรายแบบนี้ เพิ่งจะกลายเป็นหัวข้อถกเถียงกันเผ็ดร้อน เมื่อนักแพลงค์ หรือ "plankers" ทั้งหลายเริ่มเสี่ยงอันตรายมากขึ้นเพื่อเรียกเสียงหัวเราะ

ยกตัวอย่างกรณีที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ที่ผ่านมา หนุ่มชาวออสเตรเลียวัน 20 ปีคนหนึ่งตกตึกลงมาเสียชีวิต ในขณะที่กำลังพยายามโพสท่านอนนิ่งๆ อยู่บนราวของระเบียงห้องพักที่อยู่ชั้นเจ็ด หรือแพลงค์เกอร์อีกคนหนึ่งที่ไปนอนนิ่งๆ อยู่บนรถตำรวจในควีนส์แลนด์และถูกจับ
ตัวเลขสถิติจาก Google Insights ระบุว่า คำว่า "planking" เป็นคำที่ติดอันดับท็อปเท็นคำที่มีคนค้นหามากที่สุดทั่วโลกในระยะเวลา 7 วัน ก่อนวันที่ 23 พฤษภาคม และแม้ว่าต้นกำเนิดของการค้นหาคำนี้ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ แต่การ planking ก็ได้รับความนิยมไปถึงประเทศนอร์เวย์ ออสเตรีย ไอร์แลนด์ อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็อาจจะเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าเกมนี้กำลังได้รับความสนใจจากคนทั่วโลก หรือไม่ก็อาจจะหมายความว่าคนบนอินเทอร์เน็ตกำลังกระหายใคร่รู้ว่าอันที่จริงแล้ว "planking" นี้คืออะไรกันแน่

ความสนใจที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ก็ไปจุดประกายให้เกิดกิจกรรมในหมู่นักเล่นเกม ‘lying dowm' ทั้งหลาย เว็บไซต์สำหรับเกม lying down (www.lyingdowngame.net/) ก็เพิ่งจะโพสต์เรื่องราวเกี่ยวกับการฟื้นคืนชีฟของเกมนี้ขึ้นมาในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม ซึ่งเป็นการโพสต์ครั้งแรกของเว็บนี้นับตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา 

ติดตาม เรื่องแปลก ใหม่ ตลก สนุก เซ็กซี่ sexy น่าสนใจอื่น ๆ หรือแวะมาทักทายกัน ได้ที่
www.facebook.com/somphon http://gplus.to/somphon www.twitter.com/samaphon www.facebook.com/somphon.me http://samaphon.blogspot.com/

          ขอขอบคุณที่มา : email