คงยากสำหรับคนสมัยนี้ที่จะทำให้ได้เท่ายาย คนเราตัดกิเลสไม่หมด หรอก แต่พยายามทำความดีไว้เถอะนะ เพื่อน ๆ มนุษย์ทั้งหลาย
1
2
3
ยายยิ้ม หญิงร่างเล็ก หลังงุ้ม ใบหน้าเปื้อนรอยยิ้มสมชื่อ อาศัยในบ้านไม้ที่เกือบเสร็จท่ามกลางป่าเขา จ.พิษณุโลก อยู่ลำพังอย่างเดียวดาย ห่างไกลผู้คนและเงียบสงัด
เมื่อ 20 ปี ก่อน ยายมีบ้านอยู่ที่อำเภอพรหมพิราม พร้อมลูกหลาน ตอนนั้นลูกชายคนเล็กตั้งใจจะมาบุกเบิกทำมาหากินบริเวณที่อยู่ปัจจุบัน แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่าง ทั้ง ความไกล ไข้ป่า และความลำบาก ส่งผลให้ลูกชายของยายเลือกที่จะไปขับรถแท๊กซี่ใน กทม.
และไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ และการไม่อยากเป็นภาระลูกหลานหรืออื่นๆ ยายยิ้มจึงตัดสินครั้งสำคัญ อาศัยอยู่ที่บ้านในป่าผืนนั้น เป็นต้นมา
ลูกหลานขอร้องให้ยายกลับมาอยู่บ้านแต่ยายไม่กลับ ลูกหลานจึงได้แต่มาเยี่ยมยายเป็นระยะรวมถึงการนำเสื้อผ้าผ้าห่ม ข้าวสารอาหารแห้งมาให้ยาย ลูกชายคนที่ยังอยู่ในอำเภอพรหมพิรามบอกว่า "แม่เขาจะบอกว่าไม่ต้องเอามาให้มากนะ ในชีวิตเขา แม่เขาไม่เคยอยากได้อะไรเลย เคยถามเขาก็บอกว่า เขาพอแล้ว สมัยยังเด็กบ้านเราจนกันมาก พ่อก็ตายตอนที่เรายังเล็ก ๆ แต่แม่คนเดียวก็หา เลี้ยงลูกได้ มานึกดูแกต้องทำงานหนักมาก แม่ถึงเน้นสอนให้เข้มแข็ง หนักเอาเบาสู้ไม่เลือกงาน"
ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาท่ามกลางขุนเขา ยายไม่มีนาฬิกา แต่ทุกเวลาล้วนมีคุณค่า การมีชีวิตอยู่ของยายหมดไปกับการปลูกต้นไม้ ทำฝายเล็ก ๆ ที่ยายได้อาศัยในยามหน้าแล้งและยังเป็นสายธาร หล่อเลี้ยงบรรดาสัตว์และต้นไม้บนผืนแผ่นดินนี้ และตั้งใจถวายในหลวงและพระราชินี ยายรักในหลวงและพระราชินีมาก
กิจวัตรประจำวัน ตื่นแต่เช้า จุดธูปไหว้พระ เก็บมุ้ง กระย่องกระแย่งมาจุดฟืน หุงข้าว ตักข้าวสุกแรกเก็บไว้ ตักข้าวกินกับน้ำพริก หรือ ปลาแห้งที่เก็บไว้ ลงมากวาดลานบ้าน ซักผ้า หาบน้ำที่ลำห้วย ออกไปหาฟืนหาไม้ มาเก็บไว้ ก่อนจะคดข้าวใส่กล่อง น้ำพริก ใส่ย่าม สวมที่ขาดวิ่น ใช้พร้าแทนไม้เท้าเวลาเดินข้ามห้วย ข้ามหนอง เข้าไปในป่าลึก ผ่านฝายเล็กๆ หรือคันนาที่ยายทำไว้ 11 ฝาย เป็นคันดินที่ยายใช้ "จอบกับใจ" ค่อยๆขุดขึ้นมา กลายเป็นแอ่งน้ำเล็กๆกักเก็บน้ำ พอให้สัตว์เล็กได้มาอาศัย ต้นไม้ชุ่มชื่น ระหว่างนั้นก็เอาข้าวมาโปรยให้สัตว์ ในแอ่งดินกันทำคันดินนี้เสร็จ ก็เข้าไปลึกเรื่อยๆ ที่ละฝาย ทีละฝาย เวลาแต่ละวันผ่านไปเท่าไหร่ไม่รู้ เหนื่อยก็พัก แล้วก็เดิน กลับบ้าน ชีวิตยาย เป็นไปอย่างเรียบง่าย
ทุก ๆ วันพระ ยายจะเดินลงมาจากเขา ด้วยระยะทางเกือบ 8 กิโล บวกกับวัยชราของยาย จึงทำให้ยายใช้เวลาใน การเดินทางกว่า 3 ชั่วโมง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ศรัทธาของยายเสื่อมถอยลง ลำพังคนหนุ่มสาว จะให้เดินขึ้นลงเขา สัก 7-8 กิโลเมตร ยังเล่นเอาเหงื่อตก แต่สำหรับยายยิ้มถือเป็นกิจวัตสม่ำเสมอทุกวันโกน วันพระเพราะไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง ยายก็ต้องไปถึงวัดไม่เคยขาด
ระยะทางไกลที่เต็มไปด้วยหล่มโคลน ถนนเป็นร่อง ขรุขระ ยายยิ้ม จะออกเดินเท้าจากบ้านตั้งแต่เช้ามืด เหนื่อยก็พัก ถึงวัดกี่โมงไม่รู้ รู้แต่เมื่อถึงวัดก็เปลี่ยนชุดชาว สวดมนต์ ปฏิบัติธรรม ทำความสะอาดวัด ทำบุญ เมื่อกลับจากวัด แกก็จะมานับวันหลังจากนั้นไปถึงวันโกนวันพระอีกที ก่อนที่เดินกลับบ้านในป่า ยายเลือกใช้ชีวิตเพียงลำพัง และใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวอย่างมีความสุขอีกครั้ง
เราขาดในสิ่งที่ยายยิ้มมี นั่นคือ ความพอเพียง ความศรัทธา ความไม่โลภ เรามีในสิ่งที่ยายขาด นั่นคือ ความทุกข์
พิธีกร : ข้าวสารอาหารแห้งเอามาจากไหน
ยายยิ้ม : ลูกหลานเข้าเอามาให้ เขาเอามาให้ก็ต้องกิน เขาจะได้บุญและก็ต้องกินอย่างประหยัดๆ ไม่ฟุ่มเฟือย
พิธีกร : ฝนตกเปียกไหม
ยายยิ้ม : ก็หลบๆเอา ไม่ลำบาก อย่าคิดว่ามันลำบาก
พิธีกร : เสื้อผ้า ขาดแล้วยังใส่อยู่
ยายยิ้ม : ลูกหลานเข้าเอามาให้ ใส่ไว้เขาจะได้บุญ
พิธีกร : ลูกหลานอยากให้ไปอยู่ด้วยกัน
ยายยิ้ม : ไม่ใช่ว่าจะไม่พึ่ง แต่ให้หมดค่าก่อนค่อยพึ่ง ป่วยไม่สบายไม่มีแรงค่อยพึ่งเขา
พิธีกร : ทำฝายไปให้ใคร
ยายยิ้ม : ให้ในหลวงพระราชินี ท่านเป็นถึงเจ้าแผ่นดินยังทำงาน เราก็ต้องทำให้ท่านบ้าง..ส่วนสิ่งที่ทำในหลวงไม่เห็น ผีสางเทวดาก็เห็น
พิธีกร : ได้ประโยชน์อะไรจากฝาย
ยายยิ้ม : ในหลวงบอกมีฝายมีน้ำ มีป่า มีปลาเล็กเป็นอาหารนกอีกทีรวมถึงได้ใช้ยามหน้าแล้ง
พิธีกร : กลัวล้มไหมเวลาเดินไปไหน
ยายยิ้ม : กลัวแต่ก็ต้องทำ ทำแล้วมีความสุข
พิธีกร : เหนื่อยไหมที่ทำมา
ยายยิ้ม : เหนื่อย แต่ทำแล้วมีความสุข
พิธีกร : เดินไปวัดลำบาก เหนื่อยไหม
ยายยิ้ม : เหนื่อยก็พัก แล้วเดินต่อ ทางไปสวรรค์มันรก ทางไปนรกมันเรียบ เห็นพระก็หายเหนื่อย
พิธีกร : สรุปว่าทุกอย่างอยู่ที่ใจ
ยายยิ้ม : คนอื่นว่าลำบากแต่ถ้าเราคิดว่ามันเป็นสวรรค์มันก็ไม่ลำบาก
พิธีกร : ยายมาทำบุญทุกวันพระไหม
ชาวบ้าน : ยายมาประจำแหละ ยายแกชอบทำบุญ ได้เบี้ยเดือน 500 แกยังทำบุญหมดเลย
พระ (กางมุ้งให้ยายนอนในศาลาวัด) : ไม่บาปหรอกยาย ช่วยๆกัน ดูแลกัน
ยาย (นั่งยิ้มด้วยความจำนน)
ยาย เอาเงินที่เก็บๆรวมถึงเงินที่ชาวบ้านให้ไว้มาทำบุญ
ยาย อวยพรให้และภาวนาให้คนที่ทำบุญด้วย
พิธีกร : ยายรู้จักเขาเหรอ
ยายยิ้ม : (ยิ้ม) ไม่รู้จักหรอก เห็นบอกว่าจะบวชก็เลยทำบุญ ให้ยายทำบุญนะ (สงสัยคงจะเป็นเงินที่ทางรายการให้)
พิธีกร : ทำเถอะยาย ไม่ว่าอะไรหรอก
พิธีกร : ยายมีของแค่นี้เหรอ (หยิบกระเป๋าใบเล็กที่บรรจุเสื้อผ้า หยูกยาที่จำเป็น บัตรประชาชน)
ยายยิ้ม : แค่นี้แหละเตรียมไว้ เวลาเจ็บป่วยขึ้นมา เอาไปใบเดียว คนอื่นจะได้ไม่ลำบากหา
พิธีกร : จะไม่เป็นการแช่งตัวเองหรือ
ยายยิ้ม : ยิ่งเจ็บ ยิ่งต้องพึ่งตัวเอง ยิ่งต้องเตรียมตัว
พิธีกร : เวลายายไปตัดไม้ไผ่ ทำฝายไม่เกินกำลังเหรอ เอาแรงมาจากไหน
ยายยิ้ม : หัวเราะเบาๆแล้วตอบว่า มันเกินกำลังอยู่แล้วล่ะ แต่ต้องมีความพยายามยายบอกวันนี้หมดแรง นอนพัก พรุ่งนี้แรงก็มาใหม่
พิธีกร : ยายยังขาดอะไรอีกในชีวิต
ยายยิ้ม : ยายยิ้มสมกับชื่อ แล้วตอบอย่างภาคภูมิใจว่า ขาดความทุกข์
2
3
ยายยิ้ม หญิงร่างเล็ก หลังงุ้ม ใบหน้าเปื้อนรอยยิ้มสมชื่อ อาศัยในบ้านไม้ที่เกือบเสร็จท่ามกลางป่าเขา จ.พิษณุโลก อยู่ลำพังอย่างเดียวดาย ห่างไกลผู้คนและเงียบสงัด
เมื่อ 20 ปี ก่อน ยายมีบ้านอยู่ที่อำเภอพรหมพิราม พร้อมลูกหลาน ตอนนั้นลูกชายคนเล็กตั้งใจจะมาบุกเบิกทำมาหากินบริเวณที่อยู่ปัจจุบัน แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่าง ทั้ง ความไกล ไข้ป่า และความลำบาก ส่งผลให้ลูกชายของยายเลือกที่จะไปขับรถแท๊กซี่ใน กทม.
และไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ และการไม่อยากเป็นภาระลูกหลานหรืออื่นๆ ยายยิ้มจึงตัดสินครั้งสำคัญ อาศัยอยู่ที่บ้านในป่าผืนนั้น เป็นต้นมา
ลูกหลานขอร้องให้ยายกลับมาอยู่บ้านแต่ยายไม่กลับ ลูกหลานจึงได้แต่มาเยี่ยมยายเป็นระยะรวมถึงการนำเสื้อผ้าผ้าห่ม ข้าวสารอาหารแห้งมาให้ยาย ลูกชายคนที่ยังอยู่ในอำเภอพรหมพิรามบอกว่า "แม่เขาจะบอกว่าไม่ต้องเอามาให้มากนะ ในชีวิตเขา แม่เขาไม่เคยอยากได้อะไรเลย เคยถามเขาก็บอกว่า เขาพอแล้ว สมัยยังเด็กบ้านเราจนกันมาก พ่อก็ตายตอนที่เรายังเล็ก ๆ แต่แม่คนเดียวก็หา เลี้ยงลูกได้ มานึกดูแกต้องทำงานหนักมาก แม่ถึงเน้นสอนให้เข้มแข็ง หนักเอาเบาสู้ไม่เลือกงาน"
ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาท่ามกลางขุนเขา ยายไม่มีนาฬิกา แต่ทุกเวลาล้วนมีคุณค่า การมีชีวิตอยู่ของยายหมดไปกับการปลูกต้นไม้ ทำฝายเล็ก ๆ ที่ยายได้อาศัยในยามหน้าแล้งและยังเป็นสายธาร หล่อเลี้ยงบรรดาสัตว์และต้นไม้บนผืนแผ่นดินนี้ และตั้งใจถวายในหลวงและพระราชินี ยายรักในหลวงและพระราชินีมาก
กิจวัตรประจำวัน ตื่นแต่เช้า จุดธูปไหว้พระ เก็บมุ้ง กระย่องกระแย่งมาจุดฟืน หุงข้าว ตักข้าวสุกแรกเก็บไว้ ตักข้าวกินกับน้ำพริก หรือ ปลาแห้งที่เก็บไว้ ลงมากวาดลานบ้าน ซักผ้า หาบน้ำที่ลำห้วย ออกไปหาฟืนหาไม้ มาเก็บไว้ ก่อนจะคดข้าวใส่กล่อง น้ำพริก ใส่ย่าม สวมที่ขาดวิ่น ใช้พร้าแทนไม้เท้าเวลาเดินข้ามห้วย ข้ามหนอง เข้าไปในป่าลึก ผ่านฝายเล็กๆ หรือคันนาที่ยายทำไว้ 11 ฝาย เป็นคันดินที่ยายใช้ "จอบกับใจ" ค่อยๆขุดขึ้นมา กลายเป็นแอ่งน้ำเล็กๆกักเก็บน้ำ พอให้สัตว์เล็กได้มาอาศัย ต้นไม้ชุ่มชื่น ระหว่างนั้นก็เอาข้าวมาโปรยให้สัตว์ ในแอ่งดินกันทำคันดินนี้เสร็จ ก็เข้าไปลึกเรื่อยๆ ที่ละฝาย ทีละฝาย เวลาแต่ละวันผ่านไปเท่าไหร่ไม่รู้ เหนื่อยก็พัก แล้วก็เดิน กลับบ้าน ชีวิตยาย เป็นไปอย่างเรียบง่าย
ทุก ๆ วันพระ ยายจะเดินลงมาจากเขา ด้วยระยะทางเกือบ 8 กิโล บวกกับวัยชราของยาย จึงทำให้ยายใช้เวลาใน การเดินทางกว่า 3 ชั่วโมง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ศรัทธาของยายเสื่อมถอยลง ลำพังคนหนุ่มสาว จะให้เดินขึ้นลงเขา สัก 7-8 กิโลเมตร ยังเล่นเอาเหงื่อตก แต่สำหรับยายยิ้มถือเป็นกิจวัตสม่ำเสมอทุกวันโกน วันพระเพราะไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง ยายก็ต้องไปถึงวัดไม่เคยขาด
ระยะทางไกลที่เต็มไปด้วยหล่มโคลน ถนนเป็นร่อง ขรุขระ ยายยิ้ม จะออกเดินเท้าจากบ้านตั้งแต่เช้ามืด เหนื่อยก็พัก ถึงวัดกี่โมงไม่รู้ รู้แต่เมื่อถึงวัดก็เปลี่ยนชุดชาว สวดมนต์ ปฏิบัติธรรม ทำความสะอาดวัด ทำบุญ เมื่อกลับจากวัด แกก็จะมานับวันหลังจากนั้นไปถึงวันโกนวันพระอีกที ก่อนที่เดินกลับบ้านในป่า ยายเลือกใช้ชีวิตเพียงลำพัง และใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวอย่างมีความสุขอีกครั้ง
เราขาดในสิ่งที่ยายยิ้มมี นั่นคือ ความพอเพียง ความศรัทธา ความไม่โลภ เรามีในสิ่งที่ยายขาด นั่นคือ ความทุกข์
พิธีกร : ข้าวสารอาหารแห้งเอามาจากไหน
ยายยิ้ม : ลูกหลานเข้าเอามาให้ เขาเอามาให้ก็ต้องกิน เขาจะได้บุญและก็ต้องกินอย่างประหยัดๆ ไม่ฟุ่มเฟือย
พิธีกร : ฝนตกเปียกไหม
ยายยิ้ม : ก็หลบๆเอา ไม่ลำบาก อย่าคิดว่ามันลำบาก
พิธีกร : เสื้อผ้า ขาดแล้วยังใส่อยู่
ยายยิ้ม : ลูกหลานเข้าเอามาให้ ใส่ไว้เขาจะได้บุญ
พิธีกร : ลูกหลานอยากให้ไปอยู่ด้วยกัน
ยายยิ้ม : ไม่ใช่ว่าจะไม่พึ่ง แต่ให้หมดค่าก่อนค่อยพึ่ง ป่วยไม่สบายไม่มีแรงค่อยพึ่งเขา
พิธีกร : ทำฝายไปให้ใคร
ยายยิ้ม : ให้ในหลวงพระราชินี ท่านเป็นถึงเจ้าแผ่นดินยังทำงาน เราก็ต้องทำให้ท่านบ้าง..ส่วนสิ่งที่ทำในหลวงไม่เห็น ผีสางเทวดาก็เห็น
พิธีกร : ได้ประโยชน์อะไรจากฝาย
ยายยิ้ม : ในหลวงบอกมีฝายมีน้ำ มีป่า มีปลาเล็กเป็นอาหารนกอีกทีรวมถึงได้ใช้ยามหน้าแล้ง
พิธีกร : กลัวล้มไหมเวลาเดินไปไหน
ยายยิ้ม : กลัวแต่ก็ต้องทำ ทำแล้วมีความสุข
พิธีกร : เหนื่อยไหมที่ทำมา
ยายยิ้ม : เหนื่อย แต่ทำแล้วมีความสุข
พิธีกร : เดินไปวัดลำบาก เหนื่อยไหม
ยายยิ้ม : เหนื่อยก็พัก แล้วเดินต่อ ทางไปสวรรค์มันรก ทางไปนรกมันเรียบ เห็นพระก็หายเหนื่อย
พิธีกร : สรุปว่าทุกอย่างอยู่ที่ใจ
ยายยิ้ม : คนอื่นว่าลำบากแต่ถ้าเราคิดว่ามันเป็นสวรรค์มันก็ไม่ลำบาก
พิธีกร : ยายมาทำบุญทุกวันพระไหม
ชาวบ้าน : ยายมาประจำแหละ ยายแกชอบทำบุญ ได้เบี้ยเดือน 500 แกยังทำบุญหมดเลย
พระ (กางมุ้งให้ยายนอนในศาลาวัด) : ไม่บาปหรอกยาย ช่วยๆกัน ดูแลกัน
ยาย (นั่งยิ้มด้วยความจำนน)
ยาย เอาเงินที่เก็บๆรวมถึงเงินที่ชาวบ้านให้ไว้มาทำบุญ
ยาย อวยพรให้และภาวนาให้คนที่ทำบุญด้วย
พิธีกร : ยายรู้จักเขาเหรอ
ยายยิ้ม : (ยิ้ม) ไม่รู้จักหรอก เห็นบอกว่าจะบวชก็เลยทำบุญ ให้ยายทำบุญนะ (สงสัยคงจะเป็นเงินที่ทางรายการให้)
พิธีกร : ทำเถอะยาย ไม่ว่าอะไรหรอก
พิธีกร : ยายมีของแค่นี้เหรอ (หยิบกระเป๋าใบเล็กที่บรรจุเสื้อผ้า หยูกยาที่จำเป็น บัตรประชาชน)
ยายยิ้ม : แค่นี้แหละเตรียมไว้ เวลาเจ็บป่วยขึ้นมา เอาไปใบเดียว คนอื่นจะได้ไม่ลำบากหา
พิธีกร : จะไม่เป็นการแช่งตัวเองหรือ
ยายยิ้ม : ยิ่งเจ็บ ยิ่งต้องพึ่งตัวเอง ยิ่งต้องเตรียมตัว
พิธีกร : เวลายายไปตัดไม้ไผ่ ทำฝายไม่เกินกำลังเหรอ เอาแรงมาจากไหน
ยายยิ้ม : หัวเราะเบาๆแล้วตอบว่า มันเกินกำลังอยู่แล้วล่ะ แต่ต้องมีความพยายามยายบอกวันนี้หมดแรง นอนพัก พรุ่งนี้แรงก็มาใหม่
พิธีกร : ยายยังขาดอะไรอีกในชีวิต
ยายยิ้ม : ยายยิ้มสมกับชื่อ แล้วตอบอย่างภาคภูมิใจว่า ขาดความทุกข์