เรื่องแปลก ใหม่ น่าสนใจ ข่าวสาร บันเทิง สนุก เซ็กซี่ sexy ที่คุณ อยากรู้ ที่นี่ครับ ^^
"เราจะมีภรรยาเพียงคนเดียว" คำกล่าวสั้นๆ จากก กษัตริย์ จิกมี
เราจะมีภรรยาเพียงคนเดียว
"เราจะมีภรรยาเพียงคนเดียว" คำกล่าวสั้นๆ ที่เปี่ยมด้วยความหมาย
ยิ่งเมื่อประโยคดังกล่าวเป็นรับสั่งจากกษัตริย์หนุ่ม สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก หรือ K5 อันหมายถึง The Fifth King หรือกษัตริย์พระองค์ที่ 5 ยิ่งสร้างความปีติเป็นล้นพ้นแก่ผู้ได้ยิน
นิตยสาร Who? ฉบับล่าสุด นำภาพกษัตริย์จิกมี และว่าที่พระชายา ที่มีนามออกเสียงตามภาษาท้องถิ่นว่า "เจตซัน เปมา" วัย 21 ปี ในพระอิริยาบถสบายๆ ขึ้นปก พร้อมนำเสนอเรื่อง "อินไซด์ เลิฟ สตอรี่ กษัตริย์จิกมี และพระคู่หมั้น"
แม้กษัตริย์จิกมีจะเพิ่งแนะนำ เจตซัน เปมา ต่อสาธารณชน เมื่อวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา แต่สำหรับพระองค์แล้ว เธอมิใช่คนแปลกหน้า เนื่องจากทรงเคยพบปะกันมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เจตซันเป็นลูกหลานเจ้าผู้ครองนครแห่งหนึ่งของภูฏาน พระบิดาพระมารดาของพระองค์เองก็ทรงคุ้นเคยกับครอบครัวของเจตซันเป็นอย่างดี ในหมู่พระสหายจึงได้ยินเรื่องเล่าหวานระหว่างทั้งคู่ที่ไม่ต่างกับคำมั่นสัญญามาแต่วัยเยาว์ว่า "โตขึ้นเราแต่งงานกันนะ"
กรชนก พิทักษ์บุรี หรือคุณปุ๊ก อายุ 38 ปี พระสหายชาวไทยขององค์จิกมีนานนับ 10 ปีตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สหราชอาณาจักร เป็นผู้อยู่เบื้องหลังความงามที่คนทั้งโลกได้ยลโฉมภาพของว่าที่พระชายาไปเมื่อวันที่ 20 พ.ค.
"ประมาณปลายเดือนเม.ย. ปุ๊กได้รับโทรศัพท์จากราชเลขาฯ ของพระองค์ว่าให้ช่วยหาช่างแต่งหน้าทำผมให้พระคู่หมั้น ซึ่งต้องถ่ายรูปสำหรับการเปิดตัวในวันที่ทรงประกาศข่าวการอภิเษกสมรส ก็คัดเลือกคนที่คิดว่าดีที่สุด และส่งรายละเอียดไปให้สำนักพระราชวังภูฏานเป็นคนเลือก
เขาตอบกลับมาว่าเลือก คุณป๊อก พรรวิษิษฐ์ สุขารมณ์ ช่างแต่งหน้า และ คุณใหม่ รัชดา พ่วงพวงงาม ช่างทำผม นับเป็นเกียรติสูงสุดที่ได้ถวายงานอีกครั้ง โดยก่อนหน้านี้ตอนพระราชพิธีราชาภิเษก ปุ๊กได้ช่วยทำเสื้อยืดที่ระลึกซึ่งพระองค์นำไปแจกแก่ประชาชนชาวภูฏาน"
คุณปุ๊กเผยว่า พระองค์ท่านเคยรับสั่งถึงเจตซันให้ฟังว่า ในวันแรกที่เจอกัน คุณเจตซันยังเด็กมาก ตอนนั้นเป็นช่วงเวลากลางคืน ท่านจะเสด็จออกไปข้างนอก แต่ทรงแวะเข้าไปดูว่าเจตซันหลับหรือยัง เธอยังไม่หลับ และทูลถามพระองค์ท่านว่าจะไปไหน ท่านก็มีรับสั่งว่าจะไปเดินป่า คุณเจตซันในวัยเยาว์ซักถามท่านต่อพร้อมขอไปกับท่านด้วยและว่า "ฉันจะไปกับพระองค์ท่านในทุกๆ ที่ที่เสด็จฯไป"ส่วนเรื่องคำสัญญาในวัยเยาว์ "โตขึ้นเราแต่งงานกันนะ" ก็เป็นเรื่องจริงที่พระองค์ท่านรับสั่งให้ฟังในเรื่องที่กษัตริย์ภูฏานสามารถมีพระชายาได้ 4 พระองค์เช่นพระบิดา คุณป๊อกเล่าว่า กษัตริย์จิกมีรับสั่งว่า "ไม่ ฉันได้เลือกคนที่ดีที่สุดแล้ว และคิดว่าผู้หญิงคนนี้จะอยู่กับฉันตลอดไป เขาสามารถซัพพอร์ตฉันได้ทั้งด้านการงานและจิตใจ"เธอเป็นผู้หญิงที่มีรัศมีบางอย่างเปล่งประกายมาก วางตัวได้ดีเยี่ยม มีความน่ารักกุ๊กกิ๊กอยู่ในตัว เวลาที่สองครอบครัวนัดรับประทานอาหารร่วมกัน คุณเจตซันจะชวนให้ทรงฉลองพระองค์สีเดียวกัน จะได้เป็นคู่รักที่เหมือนกันองค์จิกมีทรงให้เกียรติพระคู่หมั้นของพระองค์มาก มีพระราชดำริว่าอยากจัดปาร์ตี้สละโสดที่ประเทศไทย แต่พระคู่หมั้นทูลว่าจะจัดก็ได้ แต่จะไม่มีงานแต่งงานนะ พระองค์ท่านก็เลยรับสั่งว่าไม่จัดก็ได้ระหว่างทรงคบหาดูใจ ทรงประสงค์ให้ความสัมพันธ์ดำเนินไปอย่างเงียบเชียบ เพราะทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าผู้หญิงของพระองค์จะต้องเป็นผู้หญิงที่มีประวัติขาวสะอาด และเป็นที่ยอมรับของคนในครอบครัว ที่สำคัญต้องเป็นชาวภูฏานเท่านั้น ไม่เช่นนั้นคนทั้งโลกจะต้องถามว่าแล้วผู้หญิงภูฏานเป็นอย่างไร ทำไมไม่ทรงเลือกเป็นคู่ครองหลังจากราชเลขาฯ ตอบกลับมาว่าเลือกช่างแต่งหน้า-ทำผมคนไหน ปุ๊กก็จัดแจงนัดพี่ป๊อกกับพี่ใหม่แล้วเดินทางไปภูฏาน ในวันทำงานกษัตริย์จิกมีประทับอยู่ด้วยตลอด จึงทูลให้ท่านฉายพระรูปคู่กันเลย เมื่อถ่ายรูปออกมาเสร็จเรียบร้อยทั้งพระองค์ท่านและพระคู่หมั้นต่างพอพระทัยมาก วันนั้นฉายพระรูปทั้งหมด 6 ชุด ได้ภาพทั้งหมด 2,500 ภาพ จากกล้อง 5 ตัว พระองค์ทรงคัดเลือกภาพที่จะนำไปประกาศอย่างเป็นทางการด้วยพระองค์เองหลังเสร็จงานมีรับสั่งกับปุ๊กว่าดีมาก ปุ๊กเองก็ปลื้มใจ ส่วนพระคู่หมั้นก็ชอบฝีมือการแต่งหน้า-ทำผมของพี่ป๊อกและพี่ใหม่มาก ก่อนจะกลับประเทศไทย สมเด็จพระราชาธิบดีรับสั่งว่า "เธอต้องกลับมางานฉันให้ได้" ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีรับสั่งกับคุณป๊อกและคุณใหม่ด้วย
คุณปุ๊กเล่าด้วยว่า ตอนนี้ประเทศเล็กๆ กลางหุบเขาเต็มไปด้วยความคึกคักและการตระเตรียมงานพระราชพิธีสำคัญที่จะมีถึงในเดือนตุลาคมนี้ กำลังบูรณะพระราชวังเก่าที่อยู่นอกเมืองหนึ่งไม่ใช่เมืองหลวง เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดพระราชพิธีอภิเษกสมรสซึ่งน่าจะมี 2 วัน วันแรกเป็นพิธีทางศาสนา อีกวันเป็นพิธีสำหรับพระประยูรญาติ ส่วนชุดเจ้าสาวตอนนี้กำลังทออยู่ น่าจะมี 2 ชุด เป็นชุดประจำชาติทั้งคู่ และน่าจะเป็นชุดทอมือทั้งชุดพระราชพิธีอภิเษกสมรสขององค์พระประมุขแห่งดินแดนเทือกเขามังกรสายฟ้าจะยิ่งใหญ่อลังการ หรือจะเป็นเพียงพระราชพิธีเล็กๆ ดังพระราชประสงค์ ยังคงเป็นเรื่องที่ผู้ชื่นชมต่างเฝ้ารอและติดตามไปพร้อมกับความรักอันแสนหวานและงดงามราวเทพนิยาย กรชนก พิทักษ์บุรีพระสหาย หนึ่งในความประทับใจที่คุณปุ๊กมีต่อสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี คือ ทรงรักและทรงเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่น้อยกว่าคนไทย ในวันที่นำช่างแต่งหน้าและช่างทำผมไปถวายงานเปิดตัวว่าที่พระชายานั้น คำถามแรกที่มีรับสั่งถามคือ พระอาการประชวรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในช่วงที่เสด็จมาทรงร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ระหว่างเสด็จเสวยพระกระยาหารในเรือ มีพนักงานโรงแรมอยากขอถ่ายรูปพระองค์ ทรงอนุญาตและยังเสด็จไปฉายพระรูปกับพนักงานคนนั้นด้วย ทรงมีรับสั่งกับคุณปุ๊กว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้เกียรติเชิญฉันมาร่วมงาน แล้วทำไมฉันจะให้เกียรติประชาชนของพระองค์ท่านบ้างไม่ได้" รัชดา พ่วงพวงงามแฮร์สไตลิสต์ "ทรงผมพระคู่หมั้นทำไม่ยากเลย เพราะท่านสวยอยู่แล้ว ทำอย่างไรก็ได้ ท่านให้ทำตามสบายเลย มีรูปหนึ่งในเฟซบุ๊กหรือยูทูบ ที่เป็นทรงผมปล่อยเป็นลอนๆ และดูมีวอลลุ่มซึ่งท่านชอบมาก รู้สึกท่านจะชอบทรงผมที่ดูสบายๆ ไม่ตึง และไม่ต้องเนี้ยบมาก และโชคดีที่ได้มีโอกาสแต่งพระเกศาถวายสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมีด้วย พระเกศาท่านยาว ตัดสั้นขึ้นมาหน่อย มีรับสั่งให้เตรียมกรรไกรมาตัดผม ท่านจะได้ทรงหวีง่ายๆ ทรงเป็นกันเองมาก" พรรวิษิษฐ์ สุขารมณ์ เมกอัพอาร์ติสต์ "สไตล์ของคุณเจตซัน หรือคุณเลดี้ (ชื่อที่เธอเรียกติดปาก) พอเห็นปุ๊บก็อมยิ้มเลย เป็นสไตล์ที่เราถนัดอยู่แล้ว โดยปรับตามชุด ทั้งสีและความสดชื่น วันนั้นท่านไม่ได้แต่งหน้าเลย ท่านสวยมาก มีรัศมีออกมาเลย เราเพียงเสริมเท่านั้น สไตล์การแต่งหน้าเป็นลักษณะของผู้หญิงที่รู้จักแฟชั่นแล้วแต่งหน้าเองมากกว่า ภาพที่ออกมากษัตริย์จิกมีทรงรับสั่งชื่นชมทีมงานทุกคน"
วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีฯ สุดยอดของศิลปะ สวยงาม น่าเที่ยวชม
วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีฯ
ประวัติ
หลวงพ่อมนตรี เดิมชื่อเด็กชายมนตรี บุญมี เกิด พ.ศ. 2503 มีความสนใจ
พุทธศาสนา และสนใจงานปั้นมาแต่เด็ก ชอบปั้นพระมาตั้งแต่อายุ 5 ขวบ
เมื่ออายุได้ 9 ปี เคยปั้นพระหน้าตักกว้าง 3 ศอก ไว้กลางทุ่งนาแถวบ้านป่าหวาย อ.เด่นชัย โดยใช้เวลาปั้นแค่วันเดียว เมื่อบวชเรียนก็ศึกษางานปั้นจากช่างอาวุโส ที่สอนหล่อพระหล่อระฆัง จากคุณตาหมื่น บุญยเวทย์ วัย 85 และคุณตาอยู่คะณา วัย 80 ปี จากบ้านเตว็จ จังหวัดสุโขทัย จากนั้นก็ได้รับการถ่ายทอดการ ปั้นพระและสร้างวิหาร จากครูบาคัมภีระปัญญา วัดเฟือยลุง จ.น่าน
การสร้างวัด
หลวงพ่อมนตรี ได้นำเอาจุดเด่นของวัดหลายแห่งมาประยุกต์ไว้ที่วัดนี้ จากการที่ได้ตระเวณตามวัดต่างๆทางภาคเหนือและดินแดนล้านนาในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน เมืองเชียงตุง พม่า และจากประเทศลาว เพื่อศึกษารูปแบบของ ศิลปะล้านนาที่บรรพบุรุษได้สรรสร้างไว้ ทั้งงานปั้น งานแกะสลัก รวมทั้ง จิตกรรมฝาผนัง พร้อมกันนี้ก็ได้เสาะหาช่างฝีมือเอกของล้านนามาร่วมงาน สร้างวัดพระธาตุสุโทน บนที่ดิน 25 ไร่ ของดอยม่อนทองที่ได้รับการบริจาคจากชาวบ้าน ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ปลูกฝ้ายมาก่อน
สุดยอดของศิลปะล้านนาจำนวนถึง11 แห่ง ที่นำมาประยุกต์สร้างโบสถ์วิหาร และสิ่งปลูกสร้างต่างๆภายในวัดพระธาตุสุโทน ได้แก่
ซุ้มประตูด้านหน้าโบสถ์ – จากวัดพระธาตุลำปางหลวง
ซุ้มประตูด้านตะวันออก – จากวัดพระธาตุดอยสุเทพ
ซุ้มประตูด้านตะวันตก – จากวัดพระธาตุหลวงเวียงจันทร์ซึ่งวัดนี้สร้าง
จากช่างฝีมือเชียงใหม่ที่พระเจ้าชัยเชษฐาธิราชแห่งลาวเป็นผู้นำไปสร้าง
ฐานพระอุโบสถรูปซิกแซก – วังประทับพระยามังราย จ.เชียงราย
ประตูและหน้าต่างลวดลายแกะสลัก – วิหารลายคำวัดพระสิงห์ เชียงใหม่
ปั้นลมลวดลายเก่าศิลปะทางเหนือ- จากวัดต้นเกวน อ.สเมิง เชียงใหม่
นาค 7 เศียร แบบขอม / นางอัปสรปูนปั้น – จากวัดเจ็ดยอด เชียงใหม่
หอไตร – วัดพระสิงห์ เชียงใหม่
หอระฆัง – จากวัดพระธาตุหริภูญชัย
กุฏิหลังใหญ่สร้างจากไม้สักทอง- บ้านไทยสิบสองปันนาประเทศจีน
พระบรมธาตุ 30 ทัส ศิลปะเชียงแสน - วัดพระธาตุนอ(หน่อ)
ของพระชนกพระเจ้าเม็งรายมหาราช จากแคว้นสิบสองปันนา
ทางธรรม
หลวงพ่อมนตรีได้ศึกษาบาลีและสมถะกรรมฐาน ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า
จ.ลำพูน และได้ศึกษาอักขระสมัยล้านนาจากครูบาบ้านก๋ง อ.ท่าวังผา จ.น่าน จนสามารถใช้ภาษาล้านนาได้
ได้รับการสถาปนาให้เป็น "พระครูบา"
ได้เข้าพิธีกรรมยกยอ-สถาปนาเถราภิเษก แต่งตั้งให้เป็นครูบาเมื่อปี 2541
ณ เมืองเชียงตุง ประเทศพม่า ตามราชประเพณีที่สืบทอดมาจากเมืองศรีลังกา
คำว่า ครูบา ตามประเพณีของล้านนาแล้วจะได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ตามจารีตประเพณี โดยจะมีพระเถระเป็นกรรมการ พิจารณาความเหมาะสม ว่าสมควรได้รับสมณะครูบา นั่นก็คือจะต้องได้รับการยอมรับและผ่านความ เห็นชอบจากคณะสงฆ์ว่าได้ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม และนอกจากจะต้อง ได้รับความเห็นชอบจากสงฆ์แล้ว ยังต้องได้รับการยอมรับ เห็นพ้องจากสังคม ชาวบ้านด้วย ปัจจุบันการแต่งตั้งครูบาในเมืองไทยไม่มีแล้ว แต่ที่เชียงตุงยังสืบสานประเพณีโบราณนี้อยู่ และในปันั้นมีพระจากภาคเหนือและประเทศทางแถบ ล้านนาได้รับเลื่อนสมณะศักดิ์เป็นครูบาจำนวน 5 รูป
สถานที่ตั้งวัด
ตั้งอยู่บนถนนหมายเลข 101 เด่นชัย-ลำปาง ห่างจากสี่แยกเด่นชัยประมาณ 5 กม. อยู่ห่างจากจังหวัดแพร่ประมาณ 30 กม. ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยน้ำพริก หมู่ที่5 ต.เด่นชัย อ.เด่นชัย จ.แพร่ สถานที่ใกล้เคียง ได้แก่ กองพันทหารม้าที่ 12
หลวงพ่อมนตรี เดิมชื่อเด็กชายมนตรี บุญมี เกิด พ.ศ. 2503 มีความสนใจ
พุทธศาสนา และสนใจงานปั้นมาแต่เด็ก ชอบปั้นพระมาตั้งแต่อายุ 5 ขวบ
เมื่ออายุได้ 9 ปี เคยปั้นพระหน้าตักกว้าง 3 ศอก ไว้กลางทุ่งนาแถวบ้านป่าหวาย อ.เด่นชัย โดยใช้เวลาปั้นแค่วันเดียว เมื่อบวชเรียนก็ศึกษางานปั้นจากช่างอาวุโส ที่สอนหล่อพระหล่อระฆัง จากคุณตาหมื่น บุญยเวทย์ วัย 85 และคุณตาอยู่คะณา วัย 80 ปี จากบ้านเตว็จ จังหวัดสุโขทัย จากนั้นก็ได้รับการถ่ายทอดการ ปั้นพระและสร้างวิหาร จากครูบาคัมภีระปัญญา วัดเฟือยลุง จ.น่าน
การสร้างวัด
หลวงพ่อมนตรี ได้นำเอาจุดเด่นของวัดหลายแห่งมาประยุกต์ไว้ที่วัดนี้ จากการที่ได้ตระเวณตามวัดต่างๆทางภาคเหนือและดินแดนล้านนาในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน เมืองเชียงตุง พม่า และจากประเทศลาว เพื่อศึกษารูปแบบของ ศิลปะล้านนาที่บรรพบุรุษได้สรรสร้างไว้ ทั้งงานปั้น งานแกะสลัก รวมทั้ง จิตกรรมฝาผนัง พร้อมกันนี้ก็ได้เสาะหาช่างฝีมือเอกของล้านนามาร่วมงาน สร้างวัดพระธาตุสุโทน บนที่ดิน 25 ไร่ ของดอยม่อนทองที่ได้รับการบริจาคจากชาวบ้าน ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ปลูกฝ้ายมาก่อน
สุดยอดของศิลปะล้านนาจำนวนถึง11 แห่ง ที่นำมาประยุกต์สร้างโบสถ์วิหาร และสิ่งปลูกสร้างต่างๆภายในวัดพระธาตุสุโทน ได้แก่
ซุ้มประตูด้านหน้าโบสถ์ – จากวัดพระธาตุลำปางหลวง
ซุ้มประตูด้านตะวันออก – จากวัดพระธาตุดอยสุเทพ
ซุ้มประตูด้านตะวันตก – จากวัดพระธาตุหลวงเวียงจันทร์ซึ่งวัดนี้สร้าง
จากช่างฝีมือเชียงใหม่ที่พระเจ้าชัยเชษฐาธิราชแห่งลาวเป็นผู้นำไปสร้าง
ฐานพระอุโบสถรูปซิกแซก – วังประทับพระยามังราย จ.เชียงราย
ประตูและหน้าต่างลวดลายแกะสลัก – วิหารลายคำวัดพระสิงห์ เชียงใหม่
ปั้นลมลวดลายเก่าศิลปะทางเหนือ- จากวัดต้นเกวน อ.สเมิง เชียงใหม่
นาค 7 เศียร แบบขอม / นางอัปสรปูนปั้น – จากวัดเจ็ดยอด เชียงใหม่
หอไตร – วัดพระสิงห์ เชียงใหม่
หอระฆัง – จากวัดพระธาตุหริภูญชัย
กุฏิหลังใหญ่สร้างจากไม้สักทอง- บ้านไทยสิบสองปันนาประเทศจีน
พระบรมธาตุ 30 ทัส ศิลปะเชียงแสน - วัดพระธาตุนอ(หน่อ)
ของพระชนกพระเจ้าเม็งรายมหาราช จากแคว้นสิบสองปันนา
ทางธรรม
หลวงพ่อมนตรีได้ศึกษาบาลีและสมถะกรรมฐาน ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า
จ.ลำพูน และได้ศึกษาอักขระสมัยล้านนาจากครูบาบ้านก๋ง อ.ท่าวังผา จ.น่าน จนสามารถใช้ภาษาล้านนาได้
ได้รับการสถาปนาให้เป็น "พระครูบา"
ได้เข้าพิธีกรรมยกยอ-สถาปนาเถราภิเษก แต่งตั้งให้เป็นครูบาเมื่อปี 2541
ณ เมืองเชียงตุง ประเทศพม่า ตามราชประเพณีที่สืบทอดมาจากเมืองศรีลังกา
คำว่า ครูบา ตามประเพณีของล้านนาแล้วจะได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ตามจารีตประเพณี โดยจะมีพระเถระเป็นกรรมการ พิจารณาความเหมาะสม ว่าสมควรได้รับสมณะครูบา นั่นก็คือจะต้องได้รับการยอมรับและผ่านความ เห็นชอบจากคณะสงฆ์ว่าได้ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม และนอกจากจะต้อง ได้รับความเห็นชอบจากสงฆ์แล้ว ยังต้องได้รับการยอมรับ เห็นพ้องจากสังคม ชาวบ้านด้วย ปัจจุบันการแต่งตั้งครูบาในเมืองไทยไม่มีแล้ว แต่ที่เชียงตุงยังสืบสานประเพณีโบราณนี้อยู่ และในปันั้นมีพระจากภาคเหนือและประเทศทางแถบ ล้านนาได้รับเลื่อนสมณะศักดิ์เป็นครูบาจำนวน 5 รูป
สถานที่ตั้งวัด
ตั้งอยู่บนถนนหมายเลข 101 เด่นชัย-ลำปาง ห่างจากสี่แยกเด่นชัยประมาณ 5 กม. อยู่ห่างจากจังหวัดแพร่ประมาณ 30 กม. ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยน้ำพริก หมู่ที่5 ต.เด่นชัย อ.เด่นชัย จ.แพร่ สถานที่ใกล้เคียง ได้แก่ กองพันทหารม้าที่ 12
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ติดตาม เรื่องแปลก ใหม่ ตลก สนุก เซ็กซี่ sexy น่าสนใจอื่น ๆ หรือแวะมาทักทายกัน ได้ที่
ขอขอบคุณที่มา : email
www.facebook.com/somphon http://gplus.to/somphon www.twitter.com/samaphon www.facebook.com/somphon.me http://samaphon.blogspot.com/ |
ขอขอบคุณที่มา : email