
เรือโดยสาร "ไททานิค" จัดเป็นเรือโดยสารที่หรูหราประเภทเรือสำราญขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น ออกแบบ สร้างประกอบโดยอู่ต่อเรือของบริษัท Harland and Wolff ประเทศ North Ireland ปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ค.ศ.๑๙๑๑ มีระวางขับน้ำ ๔๖,๓๒๘ ตัน มีเครื่องจักรไอน้ำที่มีกำลังแรงถึง ๔๖.๐๐๐ แรงม้า สามารถทำความเร็วสูงสุดในการเดินทางได้ถึง ๒๔ น็อต โดยมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงถึง ๗.๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ การ เดินทางเที่ยวนี้เป็นการเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์ข้ามมหาสมุทแอตแลนติกจากเมือง เซาท์แธมตัน ประเทศอังกฤษไปยังนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยเริ่มถอนสมอออกเดินทางเมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ค.ศ.๑๙๑๒ เวลา ๑๓.๓๐ น. มีผู้โดยสารและพนักงานประจำเรือทั้งสิ้นประมาณ ๒,๒๑๗ คน
ความใหญ่โตมโหฬารมีรูปลักษณะแข็งแกร่งทนทานมหาศาลนี้ ทำให้บริษัทเจ้าของเรือมีความภาคภูมิใจมากถึงกับขนานนามเรือลำนี้ว่า "Unsinkable Ship หรือ เรือที่ไม่มีวันจม" และชื่อของเรือ "ไททานิค" นั้นก็ได้นำมาจากคำว่า "Titan" ซึ่งเป็นชื่อของอสูรเทพที่ทรงพลัง บุตรของเทพเจ้า Uranus และ Gaia ตามเทพนิยายกรีกโบราณ ในระหว่างการเดินทางนับตั้งแต่วันที่ ๑๒ เมษายนฯ เป็นต้นมา เรือ "ไททานิค" ได้รับสัญญาณวิทยุเตือนภัยให้ระวังเรื่องภูเขาและกลุ่มก้อนน้ำแข็งที่ปรากฏ ลอยอยู่เกลื่อนกลาด ทั่วไปในเส้นทางการเดินทางจากเรือลำอื่นๆ มาโดยตลอด เมื่อคืนวันที่ ๑๔ เมษายนฯ เวลา ๒๒.๓๐ น.พนักงานวิทยุประจำเรือ "คาลิฟอร์เนียน" ซึ่งกำลังติดอยู่ในกลุ่มก้อนน้ำแข็งห่างจากเรือ "ไททานิค" ประมาณ ๑๙ ไมล์ทางเหนือ ได้ส่งสัญญาณเตือนภัยให้แก่เรืออื่นๆ ซึ่งกำลังเดินทางอยู่ในเส้นทางที่ใกล้เคียงให้ระมัดระวังภัยพิบัติที่อาจจะ เกิดจากการชนภูเขาน้ำแข็งภายในบริเวณนี้ได้ ขณะที่ กำลังเรียกขานเรือ "ไททานิค" เพื่อแจ้งให้ระมัดระวังเหตุภัยพิบัตินี้เช่นกัน ก็ได้รับสัญญาณตอบกลับมาในลักษณะที่ไม่ค่อยสุภาพว่า "...ให้หยุดเตือนเสียที เพราะสัญญาณเข้าไปรบกวนการทำงาน(ของเขา)กับ Cape Race..." พนักงานวิทยุประจำเรือ "คาลิฟอร์เนียน" จึงเลิกทำการติดต่อ และปิดเครื่องวิทยุเมื่อเวลา ๒๓.๓๐ น.
เมื่อเวลาประมาณ ๒๓.๔๐ น. ด้วยความเร็ว ๒๒ น็อตครึ่ง เรือ "ไททานิค" ได้พุ่งเข้าชนภูเขาน้ำแข็งซึ่งมีความสูงพ้นระดับน้ำ ๕๕-๖๐ ฟิต ที่ Longitude 50o 14' W Latitude 41o 27' N ทำให้ตัวเรือแตกน้ำทะเลไหลท่วมท้นเข้ามาในตัวเรือมีระดับสูงกว่ากระดูกงู ๑๔ ฟิต ภายใน ๑๐ นาที แล้วไหลทะลักเข้าไปสู่ห้องต่างๆ อย่างรวดเร็วเป็นเหตุให้เรือเริ่มอับปาง พนักงานวิทยุประจำเรือฯ ได้ส่งสัญญาณวิทยุแจ้งเหตุร้ายขอความช่วยเหลือไปยังเรือและสถานีฝั่งในอาณา บริเวณ เรือหลายลำที่ได้รับสัญญาณวิทยุขอความช่วยเหลือจากเรือ "ไททานิค" จึงเปลี่ยนเส้นทางมุ่งหน้าไปยังสถานที่เกิดเหตุโดยเร็ว
วันที่ ๑๕ เมษายน ค.ศ.๑๙๑๒ เวลา ๐๐.๐๕ น. กัปตันเรือ "ไททานิค" ได้สั่งสละเรือใหญ่ เรือลำนี้ถึงแม้ว่า จะได้เตรียมเรือชูชีพไว้จำนวนมากแต่ก็สามารถจุได้เพียง ๑,๑๗๘ คนในจำนวนผู้โดยสารและพนักงานประจำเรือทั้งหมด ๒,๒๑๗ คน เท่านั้น และถึงแม้ว่า จะมีเรือหลายลำเข้าไปช่วยเหลือได้ในระยะเวลาอันสั้น การอับปางของเรือ "ไททานิค" ครั้งนี้ก็ยังเป็นเหตุโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง ๑,๕๑๓ คน ในจำนวนนี้มีมหาเศรษฐีอเมริกันรวมอยู่ด้วยถึง ๓ คน คือ John Jacob Astor, Benjamin Gugenheim และ Isidor Straus
หนังสือพิมพ์ New York Times ลงข่าวหน้า ๑ ฉบับวันที่ ๑๖ เมษายน ค.ศ.๑๙๑๒ รายงานข่าวการชนภูเขาน้ำแข็งของเรือไททานิค

ห้องอ่านหนังสือ

ดาดฟ้าเรือ

ดาดฟ้าเรือ ภาพที่ ๒ แสดงให้เห็นเก้าอี้พับ ตากอากาศ ปัจจุบันมีการกู้ขึ้นมาได้บางส่วน

สระว่ายน้ำภายในเรือ

เมื่อเวลาประมาณ ๒๓.๔๐ น. ด้วยความเร็ว ๒๒ น็อตครึ่ง เรือ "ไททานิค" ได้พุ่งเข้าชนภูเขาน้ำแข็ง

เจ้าหน้าที่ David Sarnoff กำลังแปลข้อความโทรเลข ว่าเรือได้จมลงแล้วบนเรือคาร์เพเทีย

เรือคาร์เพเทีย เรือช่วยชีวิตที่มาถึงเป็นลำดับแรก

ข้อความโทรเลข ขอความช่วยเหลือ

เรือผู้รอดชีวิต

ผู้รอดชีวิตบนเรือคาร์เพเทีย

กว่า ๘๐ ปีต่อมา มีการนำสิ่งของที่จมไปพร้อมกับเรือขึ้นมา

กระเป๋าหนังพร้อมของภายใน

บรรดาของบางส่วนถูกนำมาจัดแสดงไว้
อ่างล้างหน้าและตลับยาสีฟัน

ธนบัตรฉบับละ ๕ ปอนด์ ของอังกฤษ

ธนบัตรฉบับละ ๕ ดอลล่าร์และ ๑ ดอลล่าร์ ของสหรัฐ

ชุดนาฬิกาพก

ชุดเครื่องเงิน ที่กู้ขึ้นมาและทำความสะอาดแล้ว

เครื่องแก้วเจียระไน

ชามเซรามิค

ไพ่

Purser Hugh Walter McElory และ Captain Edward J.Smith เป็นภาพถ่ายกัปตันเรือภาพสุดท้ายที่ถ่ายก่อนเรือชนภูเขาน้ำแข็ง

ย้อนรอย!! กู้สมบัติเรือ'ไททานิค เรือโดยสารที่หรูหราประเภทเรือสำราญขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น