พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ได้ให้คำจำกัดความของ “ผี” ว่า คือ สิ่งที่มนุษย์เชื่อว่าเป็นสภาพลึกลับ มองไม่เห็นตัว แต่อาจจะปรากฏเหมือนมีตัวตนได้ อาจให้คุณหรือโทษได้ มีทั้งดีและเลว หรืออาจหมายถึง คนที่ตายไปแล้ว หรือเทวดาก็ได้ ส่วน “วิญญาณ” หมายถึง สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกายล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่
ด้วยเหตุที่ “ผี” เป็น สิ่งที่ยากจะบอกได้ ถึงรูปพรรณสัณฐานที่แน่นอน มีความลึกลับ ขึ้นกับความเชื่อ และจินตนาการ จึงถูกหยิบยกมาขู่เด็กอยู่เสมอ จนทำให้บางคนแม้โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ความรู้สึกกลัวผีก็ยังมีอยู่ หนัง/ละครหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นของไทย หรือต่างประเทศ ต่างก็สร้างสรรค์ “ผี” ออก มาในรูปแบบต่างๆ มีทั้งแนวตลกขบขัน แนวสยองขวัญ น่ากลัว หรือแม้แต่แนวรักโรแมนติก ที่ฮิตๆ อมตะสร้างซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็ได้แก่ พวกแดร็กคิวร่า, แฟรงเก็นสไตน์, แวมไพร์ม, ส่วนไทยก็มี แม่นาคพระโขนง, ผีปอบ, ผีกระสือ, ผีกระหัง เป็นต้น
ด้วยเหตุที่ “ผี” เป็น สิ่งที่ยากจะบอกได้ ถึงรูปพรรณสัณฐานที่แน่นอน มีความลึกลับ ขึ้นกับความเชื่อ และจินตนาการ จึงถูกหยิบยกมาขู่เด็กอยู่เสมอ จนทำให้บางคนแม้โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ความรู้สึกกลัวผีก็ยังมีอยู่ หนัง/ละครหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นของไทย หรือต่างประเทศ ต่างก็สร้างสรรค์ “ผี” ออก มาในรูปแบบต่างๆ มีทั้งแนวตลกขบขัน แนวสยองขวัญ น่ากลัว หรือแม้แต่แนวรักโรแมนติก ที่ฮิตๆ อมตะสร้างซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็ได้แก่ พวกแดร็กคิวร่า, แฟรงเก็นสไตน์, แวมไพร์ม, ส่วนไทยก็มี แม่นาคพระโขนง, ผีปอบ, ผีกระสือ, ผีกระหัง เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ผีที่เราเห็นในหนังหรือละคร นับว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของผีทั้งหลาย ที่ยังมีอีกหลากหลายในไทย ทางสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงอยากจะขอแนะนำ “ผีไทย” ในแบบอื่นๆ ให้รู้จักกันบ้าง โดยทั่วไป คนไทยแต่เดิมได้แบ่งผีออกเป็นประเภทใหญ่ๆ คือ
1. ผีฟ้า ได้แก่ผีที่อยู่บนฟ้า ซึ่งต่อมาเมื่อเรารับความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์มาจากพุทธศาสนา คนไทยภาคกลางจึงเรียกผีที่อยู่บนฟ้าว่า “เทวดา” หรือ “เทพ” และถือว่าเทวดามีหลายองค์ ส่วนคนทางภาคอีสานจะเรียกว่า “แถน”
2. ผีคนตาย ได้แก่ผีที่เชื่อกันว่า เป็นวิญญาณของคนที่ตายไปแล้ว ผีชนิดนี้มีทั้งผีดีและผีไม่ดี ซึ่งผีดีที่คนนับถือยังแบ่งย่อยเป็นอีก 3 ระดับ คือ ผีเรือน เป็นผีประจำครอบครัว คนไทยโบราณและชนชาติไทบางกลุ่มเรียกว่า “ผีด้ำ” หมาย ถึง ผีบรรพบุรุษ หรือผีปู่ย่าตายายพ่อแม่ที่ล่วงลับไปแล้ว แต่ยังสถิตอยู่ในบ้านเรือน เพื่อคอยคุ้มครอง และดูแลช่วยเหลือลูกหลาน และลูกหลาน จะต้องเซ่นสรวงตามโอกาสอันสมควร ผีบ้าน คือ ผีประจำหมู่บ้าน บางแห่งเรียก”เสื้อบ้าน” ได้แก่ ผีที่คอยคุ้มครอง และให้ความอนุเคราะห์แก่คนในหมู่บ้าน ซึ่งแต่ละหมู่บ้านมักจะมีสถานที่ สำหรับทำพิธีบูชาบวงสรวง ผีเมือง หรือบางแห่งเรียก ”เสื้อเมือง” ได้แก่ วิญญาณของเจ้าเมืององค์ก่อนๆ หรือวีรบุรุษของกลุ่มชน คอยคุ้มครอง และให้ความอนุเคราะห์ดูแลคนทั้งเมืองหรือรัฐ บางแห่งก็เรียก “เทพารักษ์” และมักมีการสร้างศาลให้เป็นที่สถิต
3. ผีไม่ปรากฎรายละเอียดใน ด้านความเป็นมาได้แก่ ผีที่ประจำอยู่กับสิ่งต่างๆ ที่มีในธรรมชาติ เช่น ผีป่า ผีเขา ผีน้ำ ผีประจำต้นไม้ เป็นต้น ผีดังกล่าวให้คุณและโทษได้ จึงต้องเซ่นสรวงให้ถูกวิธี โดยเฉพาะเมื่อต้องการความช่วยเหลือ หรือขออนุญาตใช้ประโยชน์
นอกจากนี้ ยังมีผีตามสภาพที่ปรากฏ เช่น บอกสภาพการตาย ได้แก่ ผีตายโหง ผีหัวกุด ผีตายทั้งกลม เป็นต้น ต่อไปนี้จะขอแนะนำผีแต่ละจำพวกให้ได้รู้จักกัน ดังนี้ ผียอดนิยม ซึ่งเป็นที่รู้จักและมักถูกนำมาสร้างหนัง/ละครบ่อยๆ ได้แก่
- ผีกระสือคือผีที่เข้าสิงในตัวผู้หญิง และชอบกินของโสโครก คู่กับผีกระหัง ที่ชอบเข้าสิงผู้ชาย เชื่อกันว่าผีกระหังเป็นผู้ชายที่เรียนวิชาอาคม เมื่อแก่กล้าก็มีปีกมีหาง จะไปไหนก็ใช้กระด้งต่างปีก สากตำข้าวต่างขา สากกะเบือ ต่างหาง ชอบกินของโสโครกเช่นเดียวกับกระสือ
- ผีปอบ คือ ผีที่สิงอยู่ในตัวคน พอกินตับไต้ไส้พุงหมดแล้วก็จะออกไปและคนๆ นั้นก็จะตาย
- ผีดิบ คือ ผีที่ยังไม่ได้เผา หรือผีดูดเลือด ผีตายทั้งกลม คือ หญิงที่ตายในขณะที่ลูกอยู่ในท้อง
- ผีตายโหง คือ คนที่ตายผิดธรรมดา เช่น ถูกฆ่าตาย ตกน้ำตายหรือตายด้วยอุบัติเหตุ
- ผีพราย หมายถึงหญิงที่ตาย อันเนื่องมาจากคลอดลูกหรือตายในขณะที่ลูกเกิดมาได้ไม่นาน เชื่อกันว่าวิญญาณหญิงดังกล่าว จะมีความร้ายกาจมาก ,ส่วน ผีพราย อีกประเภทหนึ่ง คือคนแก่ที่ป่วยไข้ออดแอด จนไม่มีกำลังต้องนอนซมอยู่เสมอ แต่พอคนอื่นไม่อยู่หรือเผลอ คนแก่นั้นก็เปลี่ยนไป ดวงตากลับวาวโรจน์ และมีเรี่ยวแรงลุกไปหาของกินที่เป็นของสดหรือมีกลิ่นคาว หากมีใครมาพบ ก็จะทำท่าหมดแรงต้องนอนซมเหมือนเดิม บางแห่งก็ว่าผีพรายสามารถจำแลงกายเป็นสัตว์ต่างๆ ได้ โดยเฉพาะนกเค้าแมว หากบ้านไหนมีคนป่วยและมีนกเค้าแมวมาเกาะ จะเชื่อกันว่าผีพรายแปลงกายมาซ้ำเติมคนป่วยให้ตายโดยเร็ว ส่วนผีที่มีลักษณะคล้ายกับกลุ่มข้างต้น แต่ชื่ออาจจะไม่ค่อยคุ้นหูสักเท่าไรก็ได้แก่
- ผีโพง และ ผีเป้า คือ ผีที่ชอบกินของสด ของคาว เช่น เลือดสด และสิงในคนได้ บ้างก็ว่าผีโพงสิงคนแล้ว จะทำให้มีแสงสว่างออกมาทางจมูกเวลาหายใจ และชอบหากินเวลากลางคืน
- ผีโขมด เป็นพวกเดียวกับผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสงเรืองวาวในเวลากลางคืน ทำให้เข้าใจผิดคิดว่าคนถือไฟอยู่ข้างหน้า
- ผีกองกอย คือ ผีชนิดหนึ่งที่มีตีนเดียว ไม่มีสะบ้าหัวเข่า จึงต้องเดินเขย่งเกงกอย ชอบออกมาดูดเลือดที่หัวแม่เท้าของคนที่นอนหลับพักแรมในป่า
สำหรับผีที่ให้คุณ ก็มี ผีขุนน้ำ คือ อารักษ์ประจำต้นน้ำแต่ละสาย ซึ่งสถิตอยู่บนดอยสูง ผีขุนน้ำมักอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ ชาวบ้านจะอัญเชิญมาสถิตที่หอผี ที่ปลูกอย่างค่อนข้างถาวรใต้ต้นไม้เหล่านี้ ผีขุนน้ำที่อยู่ต้นแม่น้ำใด ก็มักจะได้ชื่อตามแม่น้ำนั้น เช่น ขุนลาว เป็นผีอยู่ต้นแม่น้ำลาว ในจ.เชียงราย ผีมด และ ผีเมง คือ ผีบรรพบุรุษตามความเชื่อชาวล้านนา ( คำว่า “มด” หมายถึงระวัง รักษา) ส่วนผีเมงนี้เข้าใจกันว่ารับมาจากชนเผ่าเม็ง หรือมอญโบราณ ผีเจ้าที่ คือผีที่รักษาประจำอยู่ที่ใดที่หนึ่ง เป็นผู้ดูแลรักษาเขตนั้นๆ ดังนั้น คนโบราณเมื่อเดินทางและหยุดพักที่ใด มักจะบอกขออนุญาตเจ้าที่ทุกครั้ง
- ผีเจ้านายคือ ผีที่มาประทับทรงเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ของชาวบ้านชาวเมือง แต่มิใช่เสื้อบ้าน เสื้อเมืองหรือผีปู่ย่าตายาย ผีย่าหม้อหนึ้ง เป็นผีจำพวกผีเรือนสถิตอยู่กับหม้อที่ใช้นึ่งข้าว เมื่อใครจะเดินทางไกลก็นำข้าวเหนียวหนึ่งปั้น และกล้วยหนึ่งผล ไปสังเวยบอกกล่าวผีย่าหม้อหนึ้งเพื่อให้คุ้มครอง หรือหากลูกหลานไม่สบายร้องไห้โยเยกลางคืน ชาวบ้านก็มักไปเอายาจากผีย่าหม้อหนึ้งโดยขูดเอาดินหม้อ ที่ติดกับหม้อไปผสมน้ำให้ลูกอ่อนกิน นอกจากดูแลคุ้มครองทรัพย์สินในครัวเรือนแล้ว ยังมีอำนาจในการพยากรณ์ได้ด้วย ซึ่งการลงผีย่าหม้อหนึ้งนี้ มักทำเมื่อบุตรหลานไม่สบายหรือของหาย
นอกเหนือไปจากผีดังกล่าวแล้ว ในแต่ละท้องถิ่นยังมีผีอีกหลายประเภท ซึ่งหลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อน อาทิ
ผีกละ หรือ ผีกะเป็น ผีที่มักเข้าสิงคนเพื่อเรียกร้องจะกินอาหาร เมื่อเข้าสิงใคร ก็จะแสดงกิริยาผิดปกติไป เมื่อคนสังเกตเห็นก็มักร้องขอกินอาหารและจะกินอย่างตะกละตะกลาม จึงเรียกผีกละตามลักษณะการกิน แต่มักเขียนเป็นผีกะ ผีกละยักษ์ เป็นผีที่อยู่รักษาสถานที่ต่างๆ เช่น วัดร้าง ถ้ำ หรือที่ซึ่งมีสมบัติฝังหรือซ่อนอยู่ ผีกละยักษ์จะคอยพิทักษ์สมบัติเหล่านั้น จนกว่าเจ้าของจะรับทรัพย์สินเหล่านั้นไป
ใน กรณีผีกละยักษ์ที่อยู่ในวัด เล่ากันว่า มักจะเป็นวิญญาณของพระหรือเจ้าอาวาสที่ผิดวินัย เมื่อตายแล้วไปเกิดไม่ได้ จึงต้องทำหน้าที่พิทักษ์วัดไปจนกว่าจะสิ้นกรรม รูปร่างของผีกละยักษ์ ไม่แน่นอน บ้างก็ว่าเป็นหมูตัวใหญ่ที่มีร่างกายเป็นทองแดง บ้างก็ว่าเป็นสุนัขใหญ่สีดำสนิททั้งตัว
ใน กรณีผีกละยักษ์ที่อยู่ในวัด เล่ากันว่า มักจะเป็นวิญญาณของพระหรือเจ้าอาวาสที่ผิดวินัย เมื่อตายแล้วไปเกิดไม่ได้ จึงต้องทำหน้าที่พิทักษ์วัดไปจนกว่าจะสิ้นกรรม รูปร่างของผีกละยักษ์ ไม่แน่นอน บ้างก็ว่าเป็นหมูตัวใหญ่ที่มีร่างกายเป็นทองแดง บ้างก็ว่าเป็นสุนัขใหญ่สีดำสนิททั้งตัว
ผีตามอย (อ่านว่า ผี-ต๋า-มอย) หมายถึงผี 2 ชนิด ชนิดแรกเป็นผีที่อาศัยอยู่ในเขตที่มีคน ผีชนิดนี้จะคอยมาเลียก้นคนที่ไปถ่ายอุจจาระ เพราะคนสมัยก่อนมักไปถ่ายตามขอนไม้ เมื่อถ่ายเสร็จก็จะใช้ไม้แก้งขี้ปาดไปตามร่องก้นให้สะอาด ถ้าแก้งขี้ไม่สะอาดก็จะถูกผีตามอยมาเลียก้น ทำให้เจ็บไข้ได้ วิธีแก้คือให้เอาดุ้นไฟสุดหรือไม้ที่เหลือจากไฟไหม้แล้วมาแก้งขี้เสีย (แก้ง-หมายถึงขูดให้สะอาด)
ผีตามอยอีกชนิด เป็นผีที่คอยจับเอาหนุ่มหรือสาววัยรุ่นที่แตกกลุ่มเพื่อนที่เข้าไปในป่าหรือ ในดง นำไปมีเพศสัมพันธ์กับตน โดยคนที่ถูกกุมไปมักมีสภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น
ผีตามอยอีกชนิด เป็นผีที่คอยจับเอาหนุ่มหรือสาววัยรุ่นที่แตกกลุ่มเพื่อนที่เข้าไปในป่าหรือ ในดง นำไปมีเพศสัมพันธ์กับตน โดยคนที่ถูกกุมไปมักมีสภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น
ผีโป่งเป็นผีที่อยู่ตามโป่งซึ่งอาจเป็นโป่งดิน คือบริเวณที่มีดินเค็มซึ่งสัตว์มักไปแทะกิน หรือโป่งน้ำ คือที่มีน้ำผุดออกมาจากดิน ผู้ที่ไปสู่บริเวณโป่ง หากไม่สำรวมอาจจะถูกผีโป่งทำร้าย ทำให้เจ็บปวดที่เท้าหรือขา หรืออาจมีอาการเจ็บไข้รักษาไม่หาย
นอกจากผีลักษณะต่างๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว เรายังมีทั้งการละเล่น สำนวน ช่วงเวลา กิริยาอาการและคำหลายคำที่เกี่ยวกับผี เช่น
นอกจากผีลักษณะต่างๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว เรายังมีทั้งการละเล่น สำนวน ช่วงเวลา กิริยาอาการและคำหลายคำที่เกี่ยวกับผี เช่น
ผีซ้ำด้ำพลอย คือ ถูกซ้ำเติมเมื่อพลาดพลั้งหรือเมื่อคราวเคราะห์ร้าย, ผี อำ คือ อาการที่ปรากฏเมื่อเวลานอนเคลิ้มไปว่ามีคนมาปลุกปล้ำหรือยึดคร่า ทำให้มีอาการเหนื่อยหอบจนตื่นขึ้น บางคนก็เรียก ผีทับ จะมีอาการอึดอัด พูดจาไม่ได้ ลุกไม่ได้ ผีผลัก คืออุบัติเหตุที่ทำให้บาดเจ็บหรือล้มตาย เนื่องจากใช้ของแหลมมาจี้ใส่กันเป็นเชิงล้อเล่น, ผีเจาะปาก หมายถึงมีปากก็สักแต่พูดเรื่อยเปื่อย พูดไม่มีสาระ,
ผีพุ่งไต้ หมายถึงดาวตก ผีตากผ้าอ้อม หมายถึง แสงแดดที่สะท้อนกลับมาสว่างในเวลาเย็นจวนค่ำ มีสีส้มอมเหลือง, ผีขนุน หมายถึงหญิงขายบริการตามต้นขนุนริมคลองหลอด กรุงเทพฯ, ผีเพลีย คือดิถีวันห้าม ไม่ให้แรกนา ฯลฯ (ดิถี คือการนับวันตามจันทรคติ เช่น ขึ้น 1 ค่ำ แรม 2 ค่ำ เป็นต้น)ทั้งหมดที่กล่าวข้างต้น แม้จะเป็นเพียงบางส่วนของเรื่องผีๆ แต่เชื่อว่าคงจะทำให้ท่านได้รู้จัก “ผีของไทย”มาก ยิ่งขึ้น