เรื่องแปลก ใหม่ น่าสนใจ ข่าวสาร บันเทิง สนุก เซ็กซี่ sexy ที่คุณ อยากรู้ ที่นี่ครับ ^^

SAMAZshop

Translate

ภาพถ่ายทางช้างเผือก ที่ไหนสวย มาดูกัน โรแมนส์ สุด ๆ

ภาพถ่ายทางช้างเผือก ที่ไหนสวย มาดูกัน โรแมนส์ สุด ๆ
ภาพถ่ายทางช้างเผือก ที่พาดเหนือป้อมปราการกำแพงเมืองจีน โดยเซียวฮวา
        เอเยนซี - โครงการศึกษาดาราศาสตร์ระดับโลก The World at Night (TWAN) และ Global Astronomy Month ร่วมประกาศผลการประกวดภาพถ่าย “ท้องฟ้าและแผ่นดิน” จากช่างภาพผู้พิสมัยท้องฟ้ายามค่ำทั่วโลก ใน 2 หัวข้อใหญ่ ทั้ง “ความงดงามของธรรมชาติจักรวาลอันยิ่งใหญ่” และ “มลพิษที่กำลังสร้างปัญหา” โดยมีช่างภาพส่งรูปมาประกวดภาพท้องฟ้าจากทั่วทุกมุมโลก 
      
       นิตยสารเนชันแนลจีโอกราฟิก ได้รายงานผลผู้ชนะ 10 คน กับ 10 ภาพมหัศจรรย์ท้องฟ้ายามค่ำ เมื่อกลางเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา โดยมีภาพ “ทางช้างเผือก บนกำแพงเมืองจีน” ติด 1 ใน 10 สุดยอดภาพท้องฟ้ายามค่ำ (Best Night-Sky Pictures of 2011) ด้วย
      
       “แผ่นดินไม่เคยอวดว่ากว้าง แผ่นฟ้าไม่เคยอ้างว่าสูง” ภาพของ เซี่ยวหัว ที่บันทึกความงามของทางช้างเผือกหนือประตูป้อมบนกำแพงเมืองจีน ในเดือนเมษายนปีนี้ สะท้อนกังวานสัจธรรมความยิ่งใหญ่เหนือสรรพสิ่งของธรรมชาติ ด้วยมีอยู่ก่อน และจะยังคงดำรงอยู่ต่อไปหลังจากที่ทุกสิ่งบนโลกมลายเป็นธุลี
      
       นายบาบัค ทาเฟรชิ ผู้ก่อตั้ง TWAN และ เป็นหนึ่งในกรรมการตัดสิน กล่าวว่า เสน่ห์ของภาพท้องฟ้าจดแผ่นดินนั้นมีมนต์สะกดสายตาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นยามเช้า สาย สนธยา หรือราตรี การถ่ายภาพท้องฟ้า มวลหมู่ดาวในยามค่ำอยู่ร่วมเฟรมเดียวกับผืนแผ่นดิน ยิ่งทำให้เราหลงใหลและรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับจักรวาล
      
        (ชมภาพชนะการประกวด International Earth and Sky Photo Contest ของโครงการ The World at Night และ Global Astronomy Month ) 
        อันดับ 1 (ร่วม) 
       แสงออโรราสีเขียวมรกต ครอบเป็นโดมทางช้างเผือกเหนือโจกุลซาลอน (Jökulsárlón) ทะเลสาบธารน้ำแข็งใหญ่ที่สุดในประเทศไอซ์แลนด์ ถ่ายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 โดย สเตฟาน เวตเตอร์ (Stephane Vetter)
        อันดับ 1 (ร่วม) 
       ภาพดาวระยิบเหนือกลุ่มหมอกที่ปกคลุมหมู่บ้านริมทะเลสาบทรอนซี (Traunsee) และเทือกเขาแอลป์ ในออสเตรีย ถ่ายเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2553 โดยโทมัส คูรัต (Thomas Kurat)
        อันดับ 1 (ร่วม) 
       ต้นไม้กับมวลหมู่ดาวและลมหายใจของจักรวาล จากประเทศออสเตรเลีย ถ่ายเมื่อเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2553 โดย อเล็กซ์ เชอร์นีย์ (Alex Cherney)
        อันดับ 2 
       แสงสว่างของเมืองอีสฟาฮาน (Isfahan) ประเทศอิหร่าน ดูเปล่งปลั่งดังทองที่ปลายของทางช้างเผือก ถ่ายในเดือนเมษายน 2553 โดย Mehdi Momenzadeh ในภาพปรากฏให้เห็นว่ามลพิษกำลังสร้างปัญหาขึ้น ณ ที่แห่งนี้
        อันดับ 3 (ร่วม) 
       สะพานในกรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส ในเดือน กุมภาพันธ์ 2553 ถ่ายโดยมิเกล คลาโร (Miguel Claro)
        อันดับ 3 (ร่วม) 
       ภาพมุมกว้างพาโนรามาของเกาะ เรออืนีอ็อง (Reunion Island) ประเทศฝรั่งเศส ถ่ายในเดือนกรกฎาคม 2553 โดยลุค เปอร์โรต์ (Luc Perrot) เห็นทางช้างเผือกเหนือ Piton de la Fournaise ภูเขาไฟที่ยังคุอยู่
        อันดับ 4 (ร่วม) 
       แม้ว่าแสงไฟจากเมืองเล็กๆ จะบดบังจักรวาล แต่ภาพที่ถ่ายจากภูเขาในเกาะ เรออืนีอ็อง (Reunion Island) ประเทศฝรั่งเศส ในเดือนกันยายน 2553 โดย ลุค เปอโรต์ (Luc Perrot) นี้ ยังคงเห็นดวงดาวศุกร์สุกสกาว
ภาพถ่ายทางช้างเผือก ที่พาดเหนือป้อมปราการกำแพงเมืองจีน โดยเซียวฮวา
        อันดับ 4 (ร่วม) 
       ภาพถ่ายทางช้างเผือกที่พาดเหนือแนวกำแพงเมืองจีน ถ่ายในเดือนเมษายน 2554 ปีนี้เอง โดยเซียวฮวา ประหนึ่งว่าความยิ่งใหญ่ยืนยงและยาวนานนับพันๆ ปีของมนุษยชาติทั้งหลาย เมื่อเทียบไปแล้ว ต่างเป็นเพียงชั่วกะพริบตาของจักรวาล สรรพชีวิตล้วนเป็นเช่นนี้
        อันดับ 5 (ร่วม) 
       แสงจากพอร์ตแลนด์ โอเรกอน สหรัฐอเมริกา ถ่ายในเดือนธันวาคม 2553 ถ่ายโดยเบน คานาลส์ (Ben Canales)
        อันดับ 5 (ร่วม) 
       ดวงดาวหมุนวนที่ขั้วโลกเหนือ ในเดือนธันวาคม 2553 ถ่ายจากชายฝั่งทะเลสาบโมโน ในแคลิฟอร์เนีย โดย แกรนต์ เคย์ (Grant Kaye) 

เบลเยี่ยม เปิดตัวอุโมงค์ รถไฟพลังแสงอาทิตย์ ขบวนแรก สุดยอดเลย

เบลเยี่ยม เปิดตัวอุโมงค์รถไฟพลังแสงอาทิตย์ขบวนแรก





          ช่วงนี้กระแสรักษ์โลกกำลังมาแรง เราจึงเห็นนวัตกรรมเพื่อโลกสีเขียวผุดขึ้นเป็นไอเดียแปลก ๆ ในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก และในประเทศเบลเยี่ยมเองก็เช่นกัน ล่าสุดก็เพิ่งเปิดตัว "อุโมงค์รถไฟพลังงานแสงอาทิตย์" ขึ้นเป็นครั้งแรกในยุโรป 
  
          โดยเมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า  ประเทศเบลเยี่ยมได้เปิดให้รถไฟความเร็วสูงที่วิ่งระหว่างเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ไปยังกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้วิ่งผ่านอุโมงค์รถไฟพลังงานแสงอาทิตย์แล้วเป็นครั้งแรก   
          ทั้งนี้ บริษัทเอ็นฟินิตี้ของประเทศอังกฤษ เป็นผู้รับผิดชอบติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ในอุโมงค์รถไฟดังกล่าว โดยได้ติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ในอุโมงค์เพียงระยะทาง 2 ไมล์ หรือประมาณ 3.6 กิโลเมตร ระหว่างช่วงสถานี Antwerp ประเทศเบลเยี่ยมเท่านั้น แต่แค่เพียงระยะทาง 2 ไมล์ ก็ใช้แผงโซล่าร์เซลล์ จำนวนถึง 16,000 แผงเข้าไปแล้ว ซึ่งคิดเป็นเงินกว่า 695 ล้านบาทเลยทีเดียว 
  
          สำหรับประสิทธิภาพของแผงโซล่าร์เซลล์จำนวน 16,000 แผงนี้ ต้องบอกว่าไม่ธรรมดา เพราะมันสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากพอที่จะเดินรถไฟฟ้าถึง 4,000 ขบวนต่อปี หรือเท่ากับที่รถไฟทุกขบวนในเบลเยี่ยมต้องใช้ในแต่ละวันตลอดทั้งปีเลยทีเดียว นอกจากนี้ อุโมงค์รถไฟสุดพิเศษนี้ ยังช่วยเป็นกันชนไม่ให้ต้นไม้ล้มลงมาบนรางรถไฟ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ด้วย 



วิดีโอ << ชมผ่าน มือถือ คลิกที่นี่ ครับ ^^

บ้านต้นไม้ ที่สุพรรณ น่านอนจัง
























 บ้านต้นไม้ ที่สุพรรณ น่านอนจัง

ใคร ใคร ก็บินได้ ฟรายนาโน ( จริง ก็ แจ๋ว เลย )

ใคร ใคร ก็บินได้ ฟรายนาโน


FlyNano
A radical new single-seat aircraft dubbed the FlyNano was unveiled at the Aero Friedrichshafen, Germany (April 13-16) byaviation consultant, flight designer and enthusiastic pilot Aki Suokas. You don’t even have to have a license to fly the single-seat fun flyer. It is made entirely of carbon fiber and weighs in at a mere 70kg.  The FlyNano takes off and lands on water. The FlyNano falls under the weight of what is considered to be a plane so you don’t have to worry about applying for a flying license in most parts of the world. (Pics)


FlyNano comes in three basic variants – the electrically powered series E 200, a petrol-powered Series G 240 and the uprated racing model Series R 260/300. The innovative aircraft has a wingspan of nearly 5 meters, and the maximum takeoff weight is 200kg. The speed range is 70-140 km/h with a service ceiling of 3 km.
The most expensive FlyNano version costs a cool $39,000, with an optional purpose-built trailer and storage box that sells for $7,700. Deliveries for the FlyNano start three months from now.

ติดตาม เรื่องแปลก ใหม่ ตลก สนุก เซ็กซี่ sexy น่าสนใจอื่น ๆ หรือแวะมาทักทายกัน ได้ที่
www.facebook.com/somphon http://gplus.to/somphon www.twitter.com/samaphon www.facebook.com/somphon.me http://samaphon.blogspot.com/

          ขอขอบคุณที่มา : email