เรื่องแปลก ใหม่ น่าสนใจ ข่าวสาร บันเทิง สนุก เซ็กซี่ sexy ที่คุณ อยากรู้ ที่นี่ครับ ^^
ช็อควงการเพลง ! นักร้องเสียงนุ่ม เบน ชลาทิศ รับเป็นเกย์ คบผู้ชาย 8 ปี
ช็อค เบน ชลาทิศ รับเป็นเกย์ คบผู้ชาย 8 ปี...
ช็อควงการเพลง! นักร้องหนุ่มเสียงนุ่ม เบน ชลาทิศ ยืดอกรับ เป็นเกย์ เผยคบแฟนผู้ชายมา 8 ปี ไม่คิดปิดบัง เปรยกำลังหาวิธีมีลูกกับแฟนหนุ่ม!!
กลายเป็นเรื่อง ทอล์ฟ ออฟ เดอะ ทาวน์ ของวงการเพลงอีกแล้วคับทั่น หลังนักร้องเสียงนุ่มเบน ชลาทิศ ออกมายอมรับอย่างแมนๆ ว่าตัวเองเป็นเกย์ และ กำลังคบหาดูใจกับแฟนหนุ่มนอกวงการร่วม 8 ปี เผยที่ผ่านมาไม่เคยปิดบัง แต่ไม่ค่อยมีคนถามมากกว่า พร้อมเปิดใจอยากมีลูกโดยที่ไม่มีเมีย บอกตอนนี้กำลังหาวิธีกับแฟนอยู่ แหม....เป็นแล้วกล้ายอมรับแบบนี้ต้องขอปรบมืให้ดังๆ ไปเลยค่าาาาา!!!
ที่ผ่านมาผมไม่เคยปิดบังนะ
แต่ไม่มีใครมาถามผมเอง
ยิ้มรับเป็ยเกย์อย่างสบายใจ
เฮ้อ..โล่ง ได้บอกความจริงแล้ว
ดีใจจัง ต่อจากนี้ไปเราคงไม่ต้องลบซ่อนแล้ว
ทวีปเลื่อน แผ่นดินไหว สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงคือ อะไร ไปดู
ทวีปเลื่อน
(Continental Drift)
(Continental Drift)
ทวีปเลื่อน
นักธรณีวิทยาตระหนักมานานแล้วว่า โลกมีแหล่งพลังงานอยู่ภายใน พลังงานภายในเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ เปลือกโลก เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และการเกิดภูเขา และเมื่อประมาณ 40 ปีมาแล้ว นักธรณีวิทยาเพิ่งจะเข้าใจว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีเพียงหนึ่งทฤษฎี นั่นคือ ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (plate tectonics)
ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (plate tectonics) สามารถอธิบายการเกิดทวีป การเกิดแอ่งมหาสมุทร การเกิดแผ่นดินไหว การเกิดภูเขา และการเกิดภูเขาไฟของโลกได้ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นผลมาจากการก่อรูป (formation) การเย็นตัว (cooling) และการกร่อนตัว (destruction) ของชั้นธรณีภาคชั้นนอก (lithosphere) ของโลก และทฤษฎีนี้ยังสามารถอธิบายได้ว่าทำไมลักษณะทางกายภาพของโลกจึงต่างจากดวงจันทร์ ดาวอังคาร และดาวพุธ
รูปที่ 1 แสดงโครงสร้างภายในของโลก จากในไปนอก: แกนโลกชั้นใน (Inner core), แกนโลกชั้นนอก (Outer core),
เนื้อโลก (Mantle) ซึ่งด้านบนเป็น ชั้นฐานธรณีภาค (Asthenosphere) และธรณีภาคชั้นนอก (Lithosphere) และชั้นนอกสุดคือเปลือกโลก (Crust)
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกเกิดโดยพลังงานภายในของโลก ซึ่งโลกเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวจากดาวเคราะห์คล้ายโลก (terrestrial planet) ที่ “ยังไม่ตาย” ทางธรณีวิทยา การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกเกิดจากการที่สสารในชั้นฐานธรณีภาค (asthenosphere) เกิดการพาจากความร้อนภายในโลก การเคลื่อนตัวของชั้นฐานธรณีภาคทำให้ชั้นธรณีภาคชั้นนอก (lithosphere) เกิดการเคลื่อนตัวไปด้วย และทำให้ธรณีภาคชั้นนอกแตกเป็นแผ่นๆ เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก (crustal plates)
รูปแสดงธรณีภาคชั้นนอกแบ่งเป็นส่วนๆ ตามแผ่นเปลือกโลก (crustal plates)
รูปแสดงแผ่นเปลือกโลก
เมื่อแผ่นเปลือกโลก (crustal plates) เหล่านี้เคลื่อนที่ มันก็จะพาทวีปของโลกเคลื่อนที่ไปด้วย การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกเหล่านี้ทำให้มหาสมุทรแอตแลนติกขยายกว้างออกไปเรื่อยๆ ด้วยอัตราประมาณ 3 เซนติเมตรต่อปี
นักธรณีวิทยาเชื่อว่า ถ้าย้อนเวลากลับไป ทวีปต่างๆ ของโลกยังไม่ได้แยกออกจากกัน ซึ่งยังเป็นแผ่นทวีปใหญ่แผ่นเดียวที่เรียกว่า one giant supercontinent ที่เรียกว่า พันเจีย (Pangaea) และเมื่อประมาณสองร้อยล้านปีที่แล้ว พันเจียได้เคลื่อนตัวออกจากกันเป็นสองส่วนคือ ผืนแผ่นดินลอเรเซีย (Laurasia) และ ผืนแผ่นดินกอนด์วานา (Gondwanaland) ต่อมาผืนแผ่นดินกอนด์วานา ได้แยกออกเป็นอีกสองส่วนคือ ทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปแอฟริกา ในขณะที่ผืนแผ่นดินลอเรเชีย ได้แยกออกเป็นยุโรป ( Eurasia ) และทวีปอเมริกาเหนือ
รูปแสดงการแยกตัวของแผ่นพันเจีย (Pangaea)
- ขอบของแผ่นเปลือกโลกเป็นบริเวณที่จะเกิดกิจกรรมทางธรณีวิทยา เช่นภูเขาไฟ การเกิดภูเขา และมักมีแผ่นดินไหวบ่อย ๆ เช่น เมื่อแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นเคลื่อนที่มาชนกัน โดยที่แผ่นหนึ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป (continental crust) และอีกแผ่นเป็นเปลือกโลกใต้มหาสมุทร (oceanic crust) ขอบของแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปซึ่งเบากว่าจะอยู่บนขอบของแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรซึ่งหนักกว่า และจะเกิดเขตมุดตัวของเปลือกโลก (subduction zone) ขึ้นด้วย
รูปแสดงการชนกันของแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปและแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทร รวมทั้งการเกิดเขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก
- ถ้าแผ่นเปลือกโลก (crustal plates) ที่เคลื่อนที่มาชนกันนั้นมีทวีปอยู่ด้วย คือเป็นการชนกันของแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปสองแผ่น จะไม่มีแผ่นใดอยู่บนและแผ่นใดอยู่ล่าง แต่มันจะเกิดภูเขาขึ้นมาแทนอย่างเช่น ภูเขาหิมาลายา
- หลักฐานที่ทำให้นักธรณีวิทยาเชื่อว่าเมื่อก่อนทวีปต่างๆ ของโลกเคยเป็นทวีปเดียวกันมาก่อนนั้นเช่น การพบพืชและฟอสซิลของสัตว์ที่มีอายุประมาณเดียวกัน บนบริเวณฝั่งของทวีปสองทวีป เช่น การค้นพบฟอสซิลของจระเข้น้ำจืดในประเทศบราซิล และแอฟริกาใต้ เป็นต้น
รูปแสดงการค้นพบฟอสซิลของสัตว์ต่าง ๆ ในทวีปต่าง ๆ
เปิดประวัติ "Timothy D. Cook" ซีอีโอใหม่ แอปเปิล
ทิม คุ้ก หรือ Timothy D. Cook คือผู้ที่จะมานั่งเก้าอี้ซีอีโอแอปเปิลแทนสตีฟ จ็อบส์ ซึ่งยื่นใบลาออกจากตำแหน่งซีอีโอแอปเปิลอย่างเป็นทางการเมื่อวันพุธที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา
คุ้กนั้นมีอายุ 50 ปีในขณะนี้ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมจากมหาวิทยาลัย Auburn University และระดับปริญญาตรีสาขาบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัย Duke University
คุ๊กร่วมงานกับแอปเปิลตั้งแต่ปี 1998 ในฐานะรองประธานอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการทั่วโลก (senior vice president of worldwide operations) ได้รับการยอมรับในฐานะผู้แก้ปัญหาสายการผลิตล่าช้าในขณะนั้น ก่อนจะก้าวกระโดดมาเป็นประธานฝ่ายปฏิบัติการหรือซีโอโอของแอปเปิลในปี 2005
ก่อนร่วมงานกับแอปเปิล คุ้กเคยเป็นรองประธานธุรกิจสินค้ากลุ่มองค์กรให้กับ Compaq Computer ซึ่งถูกเอชพี (Hewlett-Packard Co.) ควบรวมไป และเคยร่วมบริหารบริษัท Intelligent Electronicsตั้งแต่ปี 1994 ถึง 1997 ซึ่งเป็นช่วงที่คุ้กเพิ่งเดินออกจากยักษ์ใหญ่สีฟ้าไอบีเอ็ม (International Business Machines Corp.) โดยคุ้กเคยทำงานกับไอบีเอ็มตั้งแต่ปี 1983 ถึง 1994 เบ็ดเสร็จ 12 ปีพอดี
อีกบทบาทหนึ่งของคุ้กคือการเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารแบรนด์ เสื้อผ้ารองเท้านักกีฬาชื่อดัง "Nike" ซึ่งปรากฏเป็นข่าวมาตั้งแต่ปลายปี 2005
สื่อต่างประเทศบางแห่งระบุว่า คุ้กนั้นเป็นผู้ชื่นชอบกีฬาที่เน้นการออกกำลังอย่างการปีนผาและปั่นจักรยาน ส่วนตัวเข้าออกยิมเพื่อออกกำลังกายเป็นประจำ บางรายงานระบุว่าคุ้กจะเริ่มส่งอีเมลฉบับแรกตอนตีสี่ครึ่งเป็นประจำทุกวัน และจะโทรศัพท์หาทีมงานเพื่อเตรียมงานในอาทิตย์ถัดไปทุกคืนวันอาทิตย์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ติดตาม เรื่องแปลก ใหม่ ตลก สนุก เซ็กซี่ sexy น่าสนใจอื่น ๆ หรือแวะมาทักทายกัน ได้ที่
ขอขอบคุณที่มา : email
www.facebook.com/somphon http://gplus.to/somphon www.twitter.com/samaphon www.facebook.com/somphon.me http://samaphon.blogspot.com/ |
ขอขอบคุณที่มา : email