4G เร็วแค่ไหนกัน (Forth Generation)
4G หรือ 4th Generation เป็นการพัฒนาโครงข่ายการสื่อสารข้อมูลที่แก้จุดบอดของ 3G โครงข่ายโทรศัพท์มือถือซึ่งหลายประเทศให้ความสำคัญเพราะถือว่าเป็นกลยุทธ์ ตัวหนึ่งที่สงเสริมธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องมากับการที่ต้องติดต่อกันเช่น อุปกรณ์สื่อสาร ความบันเทิงรูปแบบต่างๆ หรือแม้กระทั้งการศึกษา เนื่องจาก 4G มีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลและ Bandwidth ที่กว้าง ขึ้นทั้งยังจะผสานระบบ Bio Matrix เพื่อให้ช่วยรองรับการพิสูจน์อัตลักษณ์(พูดซะนึกถึงพิสูจน์ศพเลย)ที่ให้ การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบเครือข่ายมีความปลอดภัยสูงขึ้นเทคโนโลยี 4จี เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีก เครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว สำหรับ 4จี จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที
แล้วดีกว่าอย่างไรลองทำความรู้จักดู
- สนับสนุนการให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สาย และ เทเลคอนเฟอเรนซ์ เป็นต้น
- มีแบนด์วิทกว้างกว่า สามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็ว (bit rate) สูงกว่า 3G
- ใช้งานได้ทั่วโลก (global mobility) และ service portability
- ค่าใช้จ่ายถูกลง
- คุ้มค่าต่อการลงทุนด้านโครงข่าย
โดย TeliaSenera ผู้ให้บริการเครือข่ายรายแรกของโลกที่เปิดให้บริการเชื่อมต่อแบบ LTE ได้เปิดเผยว่า ในตอนนี้นั้น ทาง TeliaSenera เปิดให้บริการเครือข่าย 4G เฉพาะในจังหวัดใหญ่ๆ ของประเทศเอสโตเนีย ซึ่งคาดว่าในปี 2011 นี้ จะสามารถขยายเครือข่ายการให้บริการได้มากขึ้นกว่านี้
ทำความรู้จักความเป็นมาของแต่ละ G กันดีกว่า
ทั้งนี้ยุคแรกเริ่ม 1st Generation นั้นถูกออกแบบมาให้รองรับระบบ Analog ที่เป็นที่นิยมกันเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ส่วนตัว 2nd Generation ได้ออกแบบให้การสื่อสารทั้งหมดเป็น Digital โดยใช้การเข้ารหัสสัญญาณเสียงและ Package ข้อมูลของข้อความขนาดเล็ก (ที่ทำให้เราสามารถส่งข้อความทาง Pager หรือ sms ทางโทรศัพท์มือถือกันได้) อีกทั้งมีการแพร่หลายในการใช้ Global System for Mobile หรือ GSM เข้ามาแต่ยังมีราคาค่อนข้างสูง (หรือต้องการให้ราคาสูงไม่ทราบแน่) ซึ่งยังจำกันได้ไหมประเทศไทยสมัยนั้นมีการลงทะเบียน SIM แบ่งเป็นภาค (ดีนะไม่แบ่งจังหวัด) ถ้าเป็นตอนนี้ขัดใจตายเลย ต่อมามีการเพื่อเติมของการพัฒนา 2G อีกในส่วนของความเร็วให้เป็น 460 Mbps แต่เอาเข้าจริงๆได้มาแค่ 384 Mbps ทำให้เราสามารถเอามือถือมาต่อ Computer หรือเล่น Wap กันที่ GPRS (เกรด10) และ EDGE กันในปัจจุบัน แล้วเรียกมันว่า 2.5G และ 2.75G ตามลำดับ ส่วน 3rd Generation ออกแบบมาให้รองรับมัลติมีเดียเป็นหลัก และPackage ข้อมูลของข้อความที่ขนาดใหญ่ขึ้นทำให้ Internet Mobile Service เป็นบริการที่แพร่หลาย เท่าที่กล่าวมาคือมีในเมืองไทยถึงแม้
3G จะเป็นพื้นที่ส่วนน้อยของประเทศก็ตาม ทั้งนี้ยังมี 3.5G ที่เป็น HSDPA 3.75G ที่เป็น HSUPA 3.8G ที่เป็น Enhancements HSPA 3.85G ที่เพิ่ม MIMO ซึ่งจะยังไม่ขอกล่าว จนมาถึง 3.9G ที่ไทยเราเคยคิดและอาจจะยังคิดจะนำมาใช้เพื่อให้ล่ำหน้าประเทศต่างๆ (ในภูมิภาคเดียวกันนะ) ซึ่งเป็น Long Team Evolution ที่นำระบบ GPRS เดิมมาปรับและประกบเข้าเพื่อให้ได้อัตราการส่งถ่ายข้อมูลและ Bandwidth ที่กว้าง
ปิดท้ายด้วย 4G ที่กำลังจะมาไม่แน่นะ บางทีบ้านเราอาจจะได้ใช้พร้อมกันเลยทั้ง 3G และ 4G การก้าวไปเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีไม่ใช่แค่มีความสะดวกและรวดเร็วในการติดต่อ สื่อสารกันเท่านั้น หากสามารถพัฒนาระบบที่รองรับเทคโนโลยีการสื่อสารและอุปกรณ์การสื่อสารได้ก็ จะเป็นตัวกำหนดวัฒนธรรมการใช้งานเทคโนโลยีการสื่อการที่ประเทศต่างๆต้องการ จะมีและกำลังปรับตัวเพื่อใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นอีกด้วย ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบทางการค้าอย่างใหญ่หลวง ที่เหลือก็คงต้องวอนให้ภาครัฐ ทำงานกันอย่างจริงจัง ไม่ใช่ เช้าชามเย็นชาม หรือเล่นเป็นเด็กเล่นขายของ ผลประโยขน์ไม่ลงตัว ฟ้องกันไปมา ที่เสียหายนะภาษีของปรชาชน ช่วยกันพัฒนาประเทศ อย่างให้น้อยหน้าลาว หรือให้เขมรแซงหน้าไป...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น