เรื่องแปลก ใหม่ น่าสนใจ ข่าวสาร บันเทิง สนุก เซ็กซี่ sexy ที่คุณ อยากรู้ ที่นี่ครับ ^^

SAMAZshop

Translate

ประวัติ ความเป็นมาของ เทศกาล สงกรานต์ ;)

ประวัติความเป็นมาของเทศกาลสงกรานต์ 
สงกรานต์ซึ่ง เป็นประเพณีของประเทศไทย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึง การผ่าน หรือ การเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี... 
 
ประเพณีสงกรานต์ ของไทยที่สืบกันมาอย่างช้านาน 
  
โดยการนับ ระยะเวลาที่เส้นทางของ ดวงอาทิตย์โคจรผ่านกลุ่มดาวฤกษ์จักราศีทั้ง 12 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มดาวราศี เมษ พฤษภ เมถุน กรกฎ สิงห์ กันย์ ตุลย์ พิจิก ธนู มังกร กุมภ์ และ มีน การโคจร ผ่านกลุ่มดาวแต่ละกลุ่ม จะใช้ระยะเวลา ประมาณ 30 วัน เมื่อ ดวงอาทิตย์โคจรผ่าน กลุ่มดาว เหล่านี้ครบทั้ง 12 กลุ่ม ก็จะได้ระยะเวลา 1 ปี พอดี เป็นวิธีการนับเดือนที่ใช้กันใน ประเทศ อินเดีย และกลุ่มประเทศในแถบเอเชีย ออกเฉียงใต้ซึ่งรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจาก อินเดียเช่น ไทย พม่า เขมร ลาว เป็นต้น วันที่ 13 เมษายน เป็นวัน"มหา สงกรานต์ " หรือ วันเริ่มต้น ทั้งนี้เป็นเพราะเป็นจากช่วงเวลาที่ดวง อาทิตย์โคจรผ่านจากราศีมีนเข้าสู่ ราศีเมษนั้น โลกโคจรเป็นมุมฉากกับดวงอาทิตย์ จึงมีกลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันพอดี วันสงกรานต์เป็นวันทำ บุญ ใหญ่ประจำปี มี 3 วันคือ วันมหา สงกรานต์ หรือวันส่งท้ายปีเก่า (วันที่ 13 เมษายน) วันกลางหรือวันเนา (วันที่ 14 เมษายน) วันขึ้นปีใหม่ หรือวันเถลิงศก (วันที่ 15 เมษายน) 
หรือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของประเทศไทยและบางประเทศในเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ และชาวต่างประเทศจะเรียกว่าเทศกาลนี้ว่า “สงครามน้ำ”  เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษ สงกรานต์ หมาย ถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดของแต่ละปี ซึ่งจะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้นๆ ชื่อของนาง สงกรานต์ มี ดังนี้ วันอาทิตย์ ชื่อนางทุงษะเทวี วันจันทร์ชื่อนางโคราคะเทวี วันอังคารชื่อนางรากษสเทวี วันพุธชื่อนางมณฑาเทวี วันพฤหัสชื่อนางกิริณีเทวี วันศุกร์ชื่อนางกิมิทาเทวี วันเสาร์ชื่อนางมโหธรเทวี 
  
 
นางสงกรานต์ ทั้ง 7 ของท้าวกบิลพรหม 
  
ตำนานนาง สงกรานต์ 
  
        บุตรของเศรษฐีคนหนึ่งชื่อ ธรรมบาลกุมาร เป็นผู้ที่รู้ภาษานก เรียนไตรเพทจบ เมื่ออายุเจ็ดขวบ เป็นอาจารย์ บอก มงคลต่าง ๆ แก่มนุษย์ทั้งปวง ซึ่งในขณะนั้น โลกทั้งหลายนับถือท้าวมหาพรหมและกบิลพรหมองค์หนึ่งว่า เป็นผู้แสดงมงคลแก่มนุษย์ทั้งปวง เมื่อกบิลพรหมทราบ จึงลงมาถาม ปัญหา ธรรมบาลกุมาร ๓ ข้อ สัญญาไว้ว่า ถ้าแก้ปัญหาได้จะตัดศีรษะบูชา ถ้าแก้ไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ปัญหานั้นว่า 
  
  
   
ท้าวกบิลพรหมทรงตรัสถามปัญหา 3 ข้อ 
  
ข้อ ๑.เช้าราศีอยู่แห่งใด 
ข้อ ๒.เที่ยงราศีอยู่แห่งใด 
ข้อ ๓.ค่ำราศีอยู่แห่งใด 
  
ธรรมบาลขอผลัด ๗ วัน ครั้นล่วงไปได้ ๖ วัน ธรรมบาลกุมารก็ยังคิดไม่ได้ จึงลงจากปราสาทไปนอนอยู่ใต้ต้นตาลสองต้น มีนกอินทรี ๒ ตัวผัวเมียทำรังอาศัยอยู่บนต้นตาลนั้น ครั้ง เวลาค่ำนางนกอินทรีจึงถามสามีว่า พรุ่งนี้จะได้อาหารแห่งใด สามีบอกว่า จะได้กินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย เพราะทายปัญหาไม่ออก นางนกถามว่า ปัญหานั้นอย่างไรสามีจึงบอกว่า ปัญหาว่าเช้าราศีอยู่แห่งใด เที่ยงราศีอยู่แห่งใด ค่ำราศีอยู่แห่งใด นางนกถามว่า จะแก้อย่างไร สามีบอกว่า เช้าราศีอยู่หน้า มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างหน้า เวลาเที่ยงราศีอยู่อก มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก เวลาค่ำราศีอยู่เท้า มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างเท้าครั้งรุ่งขึ้นท้าวกบิลพรหมมาถามปัญหา ธรรมบาลกุมารก็แก้ตามที่ได้ยินมา    
  
   
ท้าวกบิลพรหมจึงตรัส เรียกเทพธิดาทั้ง ๗   
   
  
ท้าวกบิลพรหมจึงตรัส เรียกเทพธิดาทั้ง ๗ อันเป็นบริจาริกาพระอินทร์มาพร้อมกัน บอกว่า เราจะตัดศีรษะบูชาธรรมบาลกุมาล ศีรษะของเราถ้าจะตั้งไว้บนแผ่นดินไฟก็จะไหม้ทั่วโลก ถ้าจะทิ้งขึ้นบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งไว้ในมหาสมุทรน้ำก็จะแห้ง ธิดาทั้งเจ็ดเอาพานมารับศีรษะ แล้วก็ตัดศีรษะส่งให้ธิดาผู้ใหญ่ นางจึงเอาพานมารับพระเศียรบิดาไว้ แล้วแห่ทำประทักษิณ รอบเขาพระสุเมรุ ๖๐ นาที จากนั้นเชิญไปประดิษฐานไว้ในมณฆปถ้ำคันธุลีเขาไกรลาศ บูชาด้วยเครื่องทิพย์ต่าง ๆ พระเวสสุกรรมกันฤมิตรแก้วเจ็ดประการชื่อ ภควดี ให้เป็นที่ประชุม  เทวดาทั้งปวงนำเอาเถาฉมุลาด ลงมาล้างในสระอโนดาตเจ็ดครั้ง แล้วแจกกันสังเวยทุก ๆ พระองค์ ครั้งถึงครบกำหนด ๓๖๕ วัน โลกสมมติว่า ปีหนึ่งเป็นสงกรานต์นางเทพธิดาเจ็ดองค์ ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหม ออกแห่ประทักษิณเขาพระสุเมรุทุกปี แล้วกลับไปเทวโลก ซึ่งลูกสาวทั้งเจ็ดของท้าวกบิลพรหมนั้น เราสมมติเรียกว่า นาง สงกรานต์  มีชื่อต่าง ๆ ดังนี้ วันอาทิตย์ ชื่อนางทุงษะเทวี วันจันทร์ชื่อนางโคราคะเทวี วันอังคารชื่อนางรากษสเทวี วันพุธชื่อนางมณฑาเทวี วันพฤหัสชื่อนางกิริณีเทวี วันศุกร์ชื่อนางกิมิทาเทวี วันเสาร์ชื่อนางมโหธรเทวี 
  
  
  
ความหมายวันมหา สงกรานต์ ของแต่ละวัน 
  
    ถ้าปีใดวันมหา สงกรานต์ เป็นวันอาทิตย์ ปีนั้นไร่นาเรือกสวน เผือกมัน มิสู้แพงแล วันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ จะแพ้เสนาบดี ท้าวพระยาและนางพระยาทั้งหลาย 
  
    วันอังคารและวันเสาร์ เป็นวันมหา สงกรานต์   จะเกิดอันตรายกลางเมือง จะเกิดเพลิงและโจรผู้ร้าย และจะเจ็บ ไข้นักแล วันพุธ เป็นวันมหาสงกรานต์ ว่าท้าวพระยาจะได้เครื่องบรรณาการมาแต่ต่างเมือง แต่จะแพ้ลูกอ่อนนักแล 
  
    วันพฤหัสบดีเป็นวันมหา สงกรานต์ จะแพ้ข้าไท พระสงฆ์ราชาคณะจะได้รับความเดือดเนื้อร้อนใจกันแล
  
    วันศุกร์เป็นวันมหา สงกรานต์  ข้าวน้ำ ลูกหมากรากไม้ทั้งหลายจะอุดม แต่จะแพ้เด็ก ฝนและพายุชุม จะเจ็บตากันมากนักแล 
  
  
 
สาดน้ำ เล่นสงกรานต์ของชาวภาคเหนือ 
  
ความสำคัญของวันสงกรานต์ 

พิธีสงกรานต์ ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติ มาแต่โบราณช่วงวัน สงกรานต์จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรัก ความผูกพัน ที่มีต่อกันทั้ง ชุมชน สังคม และศาสนา แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อส่วนนั้นไปและ ในความเชื่อดั้งเดิมที่ใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น และขอพรจาก บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย รวมทั้งแสดงความกตเวทิตาต่อบรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ การสร้างความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน ได้แก่ การร่วมกันทำบุญ การก่อพระเจดีย์ทรายและเป็น การทำนุบำรุง การเล่นสาดน้ำเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงร่วมกัน นอกจากนี้ ยังสร้างความรู้สึกผูก พันกลมเกลียวต่อบุคคลในสังคมเดียวกัน และสร้างความรู้สึกหวงแหนในสาธารณสมบัติของสังคม และสิ่งแวดล้อมโดยการช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน วัดวาอาราม ตลอดจนอาคารสถานที่สถานที่ต่างๆ 

เวลาได้เปลี่ยนไป ผู้คนได้มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ๆ และจะถือเอาวันสงกรานต์เป็นวัน “กลับบ้าน” ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายขอเทศกาล นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยัง ถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ปัจจุบันนี้เทศกาลสงกรานต์มีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาด เคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น ‘Water Festival’ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นเท่านั้น 
  
  
   
สงกรานต์ Festivel ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย 
ปฏิทินไทยในขณะนี้กำหนดให้เทศกาล ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ อย่างไรก็ตาม ประกาศ สงกรานต์ อย่างเป็นทางการจะคำนวณตามหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ ซึ่งแต่โบราณมา กำหนดให้วันแรกของเทศกาล เป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า “วันมหา สงกรานต์ ” วันถัดมาเรียกว่า “วันเนา” และวันสุดท้าย เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า “วันเถลิงศก” จากหลักการข้างต้นนี้ ทำให้ปัจจุบันเทศกาล สงกรานต์ มักตรงกับวันที่ 14-16 เมษายน (ยกเว้นบางปี เช่น พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2555 ที่ สงกรานต์ กลับมาตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน) ซึ่งบางปีก็อาจจะตรงกับวันใดวันหนึ่ง 
    
     
  
กิจกรรมในวันมหา สงกรานต์ 
  
  
_ 
พุทธศาสนิกชนใส่บาตรทำบุญใน วัน 
วัน สงกรานต์   
      วันมหา สงกราน ต์ ประชาชนจะลุกขึ้นมาตอนเช้าเพื่อที่จะจัดเตรียมอาหาร ไปตักบาตรถวายพระ พอจัดเตรียมอาหารเสร็จก็จะ บรรจงลงภาชนะมีถ้วยโถโอชามที่สวยงาม แล้วเอาวางเรียงลงในถาด เพื่อนำไปทำบุญตักบาตรและเลี้ยงพระประจำหมู่บ้านของตน เรื่องการแต่งตัว จะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่สะอาดสวยงามมิดชิดเหมาะแก่การไปวัดของชาวบ้าน 
   
ก่อพระเจดีย์ทราย วัน สงกรานต์ 
  
ก่อพระเจดีย์ทราย 
ในสมัยก่อนทีเรื่องเล่าขานกันว่าทุกคนเมื่อเข้าวัดมาแล้วเวลาเดินออกจากวัดจะมีเม็ดทรายติดเท้าออกไปด้วยเพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการเติมเต็มจึงมีการขนทรายเข้าวัดหรือการก่อพระเจดีย์ทรายนั้นเองแต่ถึงอย่างไรแล้วการก่อพระเจดีย์ทรายก็เป็นเพียงกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมกันทำเพราะตอนเย็นๆชาวบ้านก็จะพากันไปที่ท่าน้ำแล้วขน ทรายกันมาคนละถังเพื่อนำทรายมาก่อเป็นพระเจดีย์นั่นถือว่าเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่จะให้ชาวบ้านมีความสามัคคีกรมเกลียวเพราะเมื่อขนทรายเข้าวัดแล้วทรายก็จะล้นวัดพระสงฆ์ก็จะนำทรายที่ชาวบ้านขนมานำไปคืนสู่แม่น้ำดังเดิมเพราะไม่รู้จะเก็บไว้ทำอะไรเพราะฉะนั้นแล้วเวลาขนทรายเข้าวัดควรจะขนเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้นพอเพราะจะสร้างความลำบากให ้พระเณรในภายหลัง 
  
 
พุทธศาสนิกชนร่วมใจปล่อยนก วัน สงกรานต์ 
  
ปล่อยนกปล่อยปลา 
การปล่อยนกปล่อยปลาในวันมหาสงกรานต์ถือว่าทำกันอาจจะเป็นประเพณีเลยทีเดียวเพราะนั่นถือว่าเมื่อเข้าวัดมาแล้วก็ต้องทำบุญโดยการปล่อยนกปล่อยปลาถ้าถือตามความเชื่อแล้ว ในการปล่อยนกปล่อยปลาถือว่ามีมากเลยทีเดียวแล้วแต่ใครจะอธิฐานแบบไหนเพราะการให้ชีวิตใหม่แก่สัตว์ที่ถูกจับมาทรมานถือว่าได้บุญมากเลยทีเดียวเพราะฉะนั้นไม่แปลกเลยถ้าถึงวันสงกรานต์จะเห็นประชาชนปล่อยนกปล่อยปลา 
  
   
พุทธศาสนิกชนร่วมใจสรงน้ำพระ วัน สงกรานต์ 
  
สรงน้ำ รดน้ำ และสาดน้ำ 
        
การสรงน้ำพระพุทธรูป มีดอกไม้ ธูปเทียน ไปบูชา แล้วเอาน้ำอบไปประพรมที่องค์พระ ทำเป็นสังเขปพอเป็นพิธีว่าได้แสดงความเคารพบูชาและสรงน้ำท่านในวันขึ้นปีใหม่แล้ว เมื่ออัญเชิญพระพุทธรูปมา ก็มีการแห่แหนกันอย่างสนุกสนาน สรงน้ำพระพุทธรูปแล้วก็มีการสรงน้ำพระสงฆ์ โดยมากมักเป็นสมภารเจ้าวัดเป็นการสรงน้ำจริงๆ สรงเสร็จครองไตรจีวรใหม่ที่อุบาสกอุบาสิกานำมาถวาย ท่านก็ขึ้นธรรมาสน์เทศน์อำนวยพรปีใหม่ให้แก่ผู้ที่ไปสรงน้ำ นอกจากนี้ยังมีการ รดน้ำญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ เพื่อขอศีลขอพรตามประเพณี 
    
  
   

ประวัติ ความเป็นมาของ เทศกาล สงกรานต์ ;)
ที่มา: ขอขอบคุณข้อมูลจากเพื่อน ๆ ด้วยครับ


ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ (Find me on)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ติดตาม เรื่องแปลก ใหม่ ตลก สนุก เซ็กซี่ sexy น่าสนใจอื่น ๆ หรือแวะมาทักทายกัน ได้ที่
www.facebook.com/somphon http://gplus.to/somphon www.twitter.com/samaphon www.facebook.com/somphon.me http://samaphon.blogspot.com/

          ขอขอบคุณที่มา : email