










วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีฯ
ประวัติ
หลวงพ่อมนตรี เดิมชื่อเด็กชายมนตรี บุญมี เกิด พ.ศ. 2503 มีความสนใจ
พุทธศาสนา และสนใจงานปั้นมาแต่เด็ก ชอบปั้นพระมาตั้งแต่อายุ 5 ขวบ
เมื่ออายุได้ 9 ปี เคยปั้นพระหน้าตักกว้าง 3 ศอก ไว้กลางทุ่งนาแถวบ้านป่าหวาย อ.เด่นชัย โดยใช้เวลาปั้นแค่วันเดียว เมื่อบวชเรียนก็ศึกษางานปั้นจากช่างอาวุโส ที่สอนหล่อพระหล่อระฆัง จากคุณตาหมื่น บุญยเวทย์ วัย 85 และคุณตาอยู่คะณา วัย 80 ปี จากบ้านเตว็จ จังหวัดสุโขทัย จากนั้นก็ได้รับการถ่ายทอดการ ปั้นพระและสร้างวิหาร จากครูบาคัมภีระปัญญา วัดเฟือยลุง จ.น่าน
การสร้างวัด
หลวงพ่อมนตรี ได้นำเอาจุดเด่นของวัดหลายแห่งมาประยุกต์ไว้ที่วัดนี้ จากการที่ได้ตระเวณตามวัดต่างๆทางภาคเหนือและดินแดนล้านนาในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน เมืองเชียงตุง พม่า และจากประเทศลาว เพื่อศึกษารูปแบบของ ศิลปะล้านนาที่บรรพบุรุษได้สรรสร้างไว้ ทั้งงานปั้น งานแกะสลัก รวมทั้ง จิตกรรมฝาผนัง พร้อมกันนี้ก็ได้เสาะหาช่างฝีมือเอกของล้านนามาร่วมงาน สร้างวัดพระธาตุสุโทน บนที่ดิน 25 ไร่ ของดอยม่อนทองที่ได้รับการบริจาคจากชาวบ้าน ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ปลูกฝ้ายมาก่อน
สุดยอดของศิลปะล้านนาจำนวนถึง11 แห่ง ที่นำมาประยุกต์สร้างโบสถ์วิหาร และสิ่งปลูกสร้างต่างๆภายในวัดพระธาตุสุโทน ได้แก่
ซุ้มประตูด้านหน้าโบสถ์ – จากวัดพระธาตุลำปางหลวง
ซุ้มประตูด้านตะวันออก – จากวัดพระธาตุดอยสุเทพ
ซุ้มประตูด้านตะวันตก – จากวัดพระธาตุหลวงเวียงจันทร์ซึ่งวัดนี้สร้าง
จากช่างฝีมือเชียงใหม่ที่พระเจ้าชัยเชษฐาธิราชแห่งลาวเป็นผู้นำไปสร้าง
ฐานพระอุโบสถรูปซิกแซก – วังประทับพระยามังราย จ.เชียงราย
ประตูและหน้าต่างลวดลายแกะสลัก – วิหารลายคำวัดพระสิงห์ เชียงใหม่
ปั้นลมลวดลายเก่าศิลปะทางเหนือ- จากวัดต้นเกวน อ.สเมิง เชียงใหม่
นาค 7 เศียร แบบขอม / นางอัปสรปูนปั้น – จากวัดเจ็ดยอด เชียงใหม่
หอไตร – วัดพระสิงห์ เชียงใหม่
หอระฆัง – จากวัดพระธาตุหริภูญชัย
กุฏิหลังใหญ่สร้างจากไม้สักทอง- บ้านไทยสิบสองปันนาประเทศจีน
พระบรมธาตุ 30 ทัส ศิลปะเชียงแสน - วัดพระธาตุนอ(หน่อ)
ของพระชนกพระเจ้าเม็งรายมหาราช จากแคว้นสิบสองปันนา
ทางธรรม
หลวงพ่อมนตรีได้ศึกษาบาลีและสมถะกรรมฐาน ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า
จ.ลำพูน และได้ศึกษาอักขระสมัยล้านนาจากครูบาบ้านก๋ง อ.ท่าวังผา จ.น่าน จนสามารถใช้ภาษาล้านนาได้
ได้รับการสถาปนาให้เป็น "พระครูบา"
ได้เข้าพิธีกรรมยกยอ-สถาปนาเถราภิเษก แต่งตั้งให้เป็นครูบาเมื่อปี 2541
ณ เมืองเชียงตุง ประเทศพม่า ตามราชประเพณีที่สืบทอดมาจากเมืองศรีลังกา
คำว่า ครูบา ตามประเพณีของล้านนาแล้วจะได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ตามจารีตประเพณี โดยจะมีพระเถระเป็นกรรมการ พิจารณาความเหมาะสม ว่าสมควรได้รับสมณะครูบา นั่นก็คือจะต้องได้รับการยอมรับและผ่านความ เห็นชอบจากคณะสงฆ์ว่าได้ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม และนอกจากจะต้อง ได้รับความเห็นชอบจากสงฆ์แล้ว ยังต้องได้รับการยอมรับ เห็นพ้องจากสังคม ชาวบ้านด้วย ปัจจุบันการแต่งตั้งครูบาในเมืองไทยไม่มีแล้ว แต่ที่เชียงตุงยังสืบสานประเพณีโบราณนี้อยู่ และในปันั้นมีพระจากภาคเหนือและประเทศทางแถบ ล้านนาได้รับเลื่อนสมณะศักดิ์เป็นครูบาจำนวน 5 รูป
สถานที่ตั้งวัด
ตั้งอยู่บนถนนหมายเลข 101 เด่นชัย-ลำปาง ห่างจากสี่แยกเด่นชัยประมาณ 5 กม. อยู่ห่างจากจังหวัดแพร่ประมาณ 30 กม. ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยน้ำพริก หมู่ที่5 ต.เด่นชัย อ.เด่นชัย จ.แพร่ สถานที่ใกล้เคียง ได้แก่ กองพันทหารม้าที่ 12
หลวงพ่อมนตรี เดิมชื่อเด็กชายมนตรี บุญมี เกิด พ.ศ. 2503 มีความสนใจ
พุทธศาสนา และสนใจงานปั้นมาแต่เด็ก ชอบปั้นพระมาตั้งแต่อายุ 5 ขวบ
เมื่ออายุได้ 9 ปี เคยปั้นพระหน้าตักกว้าง 3 ศอก ไว้กลางทุ่งนาแถวบ้านป่าหวาย อ.เด่นชัย โดยใช้เวลาปั้นแค่วันเดียว เมื่อบวชเรียนก็ศึกษางานปั้นจากช่างอาวุโส ที่สอนหล่อพระหล่อระฆัง จากคุณตาหมื่น บุญยเวทย์ วัย 85 และคุณตาอยู่คะณา วัย 80 ปี จากบ้านเตว็จ จังหวัดสุโขทัย จากนั้นก็ได้รับการถ่ายทอดการ ปั้นพระและสร้างวิหาร จากครูบาคัมภีระปัญญา วัดเฟือยลุง จ.น่าน
การสร้างวัด
หลวงพ่อมนตรี ได้นำเอาจุดเด่นของวัดหลายแห่งมาประยุกต์ไว้ที่วัดนี้ จากการที่ได้ตระเวณตามวัดต่างๆทางภาคเหนือและดินแดนล้านนาในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน เมืองเชียงตุง พม่า และจากประเทศลาว เพื่อศึกษารูปแบบของ ศิลปะล้านนาที่บรรพบุรุษได้สรรสร้างไว้ ทั้งงานปั้น งานแกะสลัก รวมทั้ง จิตกรรมฝาผนัง พร้อมกันนี้ก็ได้เสาะหาช่างฝีมือเอกของล้านนามาร่วมงาน สร้างวัดพระธาตุสุโทน บนที่ดิน 25 ไร่ ของดอยม่อนทองที่ได้รับการบริจาคจากชาวบ้าน ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ปลูกฝ้ายมาก่อน
สุดยอดของศิลปะล้านนาจำนวนถึง11 แห่ง ที่นำมาประยุกต์สร้างโบสถ์วิหาร และสิ่งปลูกสร้างต่างๆภายในวัดพระธาตุสุโทน ได้แก่
ซุ้มประตูด้านหน้าโบสถ์ – จากวัดพระธาตุลำปางหลวง
ซุ้มประตูด้านตะวันออก – จากวัดพระธาตุดอยสุเทพ
ซุ้มประตูด้านตะวันตก – จากวัดพระธาตุหลวงเวียงจันทร์ซึ่งวัดนี้สร้าง
จากช่างฝีมือเชียงใหม่ที่พระเจ้าชัยเชษฐาธิราชแห่งลาวเป็นผู้นำไปสร้าง
ฐานพระอุโบสถรูปซิกแซก – วังประทับพระยามังราย จ.เชียงราย
ประตูและหน้าต่างลวดลายแกะสลัก – วิหารลายคำวัดพระสิงห์ เชียงใหม่
ปั้นลมลวดลายเก่าศิลปะทางเหนือ- จากวัดต้นเกวน อ.สเมิง เชียงใหม่
นาค 7 เศียร แบบขอม / นางอัปสรปูนปั้น – จากวัดเจ็ดยอด เชียงใหม่
หอไตร – วัดพระสิงห์ เชียงใหม่
หอระฆัง – จากวัดพระธาตุหริภูญชัย
กุฏิหลังใหญ่สร้างจากไม้สักทอง- บ้านไทยสิบสองปันนาประเทศจีน
พระบรมธาตุ 30 ทัส ศิลปะเชียงแสน - วัดพระธาตุนอ(หน่อ)
ของพระชนกพระเจ้าเม็งรายมหาราช จากแคว้นสิบสองปันนา
ทางธรรม
หลวงพ่อมนตรีได้ศึกษาบาลีและสมถะกรรมฐาน ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า
จ.ลำพูน และได้ศึกษาอักขระสมัยล้านนาจากครูบาบ้านก๋ง อ.ท่าวังผา จ.น่าน จนสามารถใช้ภาษาล้านนาได้
ได้รับการสถาปนาให้เป็น "พระครูบา"
ได้เข้าพิธีกรรมยกยอ-สถาปนาเถราภิเษก แต่งตั้งให้เป็นครูบาเมื่อปี 2541
ณ เมืองเชียงตุง ประเทศพม่า ตามราชประเพณีที่สืบทอดมาจากเมืองศรีลังกา
คำว่า ครูบา ตามประเพณีของล้านนาแล้วจะได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ตามจารีตประเพณี โดยจะมีพระเถระเป็นกรรมการ พิจารณาความเหมาะสม ว่าสมควรได้รับสมณะครูบา นั่นก็คือจะต้องได้รับการยอมรับและผ่านความ เห็นชอบจากคณะสงฆ์ว่าได้ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม และนอกจากจะต้อง ได้รับความเห็นชอบจากสงฆ์แล้ว ยังต้องได้รับการยอมรับ เห็นพ้องจากสังคม ชาวบ้านด้วย ปัจจุบันการแต่งตั้งครูบาในเมืองไทยไม่มีแล้ว แต่ที่เชียงตุงยังสืบสานประเพณีโบราณนี้อยู่ และในปันั้นมีพระจากภาคเหนือและประเทศทางแถบ ล้านนาได้รับเลื่อนสมณะศักดิ์เป็นครูบาจำนวน 5 รูป
สถานที่ตั้งวัด
ตั้งอยู่บนถนนหมายเลข 101 เด่นชัย-ลำปาง ห่างจากสี่แยกเด่นชัยประมาณ 5 กม. อยู่ห่างจากจังหวัดแพร่ประมาณ 30 กม. ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยน้ำพริก หมู่ที่5 ต.เด่นชัย อ.เด่นชัย จ.แพร่ สถานที่ใกล้เคียง ได้แก่ กองพันทหารม้าที่ 12
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น