แม้ในปัจจุบันยังไม่มียาใดที่รักษาอาการหรือสาเหตุหลักของโรคออทิสติกได้ แต่วิทยาการทางการแพทย์สมัยใหม่ก็ไม่เคยหยุดนิ่งในการพัฒนาเทคโนโลยีในการดูแลเด็กที่มีภาวะออทิสติกและโรคสมาธิสั้น วันนี้ทีมงาน Life & Family มี 3 นวัตกรรมการบำบัดที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดในขณะนี้จากรพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์มาฝากกัน ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเป็นเด็กพิเศษ หรือมีความต้องการพิเศษ เริ่มจาก Hemoencephalogram (HEG) เป็นเครื่องตรวจวัด และปรับกระแสการไหลเวียนของโลหิตที่ผิวสมอง ประกอบด้วย สายคาดที่ศีรษะ (Head Band) ซึ่งบรรจุ Infrared Spectrophotometer เพื่อตรวจสอบการอิ่มตัวของออกซิเจนในเส้นเลือดฝอยที่ผิวสมองและสะท้อนกลับมาที่หนังศีรษะ ตรวจวัดได้โดย Photoelectric Cells ซึ่งส่งไปวิเคราะห์ข้อมูลที่เครื่อง Biocomp เพื่อแปลข้อมูลและป้อนกลับให้ผู้ฝึกมองเห็นและเรียนรู้ได้อย่างเป็นรูปธรรมทางจอคอมพิวเตอร์ | ||||
HEG ถือเป็น Neuro feedback แบบใหม่ที่พบว่าไม่มีผลกระทบทางด้านลบแต่อย่างใด จึงนำมาร่วมใช้ในการบำบัดโรคสมาธิสั้น โรคออทิซึม และภาวะอื่นๆ ที่มีสาเหตุจากความผิดปกติในหน้าที่ของระบบประสาทได้เป็นอย่างดี โดยใช้เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์นำทางเพื่อให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองว่าทำอย่างไร จึงจะสามารถสร้างสมาธิความตั้งใจได้ โดยดูจากกระบวนการป้อนกลับที่ผ่านทางจอคอมพิวเตอร์ ที่เป็นลักษณะของกราฟแท่ง และอาจจะมีเสียงดนตรีเพื่อความเพลิดเพลินเมื่อเด็กได้รับการฝึกฝนให้เรียนรู้ในการนั่ง สร้างความตั้งใจ และสมาธิด้วยเครื่องเอชอีจีแล้ว เด็กก็จะสามารถเรียนรู้ได้ว่าขณะที่ตนเองนั่งเรียนอยู่ในชั้นเรียนควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร จึงจะฟังคุณครูสอนในชั้นเรียนได้อย่างตั้งใจ และจะเข้าใจในการเรียนการสอนในที่สุด ทำ ให้ผลการเรียนดีขึ้น หากเด็กได้รับการฝึกฝนอย่างดีแล้วก็จะสามารถมีสมาธิ และตั้งใจเรียนได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องใช้เครื่องอีก Hyperbaric Chamber เป็นเครื่องมือที่ใช้การบำบัดด้วยออกซิเจน ความกดบรรยากาศสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy) เป็นการรักษาผู้ป่วยด้วยการหายใจด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ 100% ในขณะที่ผู้ป่วยเข้าไปอยู่ภายใต้สภาพความกดบรรยากาศสูงที่มากกว่า 1 บรรยากาศ ในเครื่องปรับบรรยากาศ (Hyperbaric Chamber) ส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณที่สูงกว่า เมื่อเทียบกับการให้ออกซิเจนที่ความกดบรรยากาศปกติ มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ไฮเปอร์แบริค คอยดูแลตลอดเวลา ซึ่งใช้เวลาโดยประมาณ 90-120 นาที ต่อครั้ง จำนวนครั้งของการรักษาขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการรักษาในระยะแรก Hyperbaric Chamber ถูกนำมารักษาผู้ป่วยโรคน้ำหนีบซึ่งเป็นภาวะสมองขาดเลือดจากการอุดตันของก๊าซไนโตรเจนในนักดำน้ำ ตลอดจนการรักษาฝีในสมอง การติดเชื้อที่แผล การติดเชื้อที่กระดูก และแผลเรื้อรังจากการฉายแสง | ||||
ต่อมาได้มีการนำมาใช้รักษาฟองอากาศอุดตันในกระแสเลือด หรือพิษจากก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ การรักษาแผลติดเชื้อคลอสตริเดียมที่กล้ามเนื้อ แผลฉกรรจ์จากอุบัติเหตุรถยนต์ชนกัน หรือ ตึกถล่ม แผลที่มีปัญหาในการหายของแผล เช่น แผลเบาหวาน แผลผ่าตัดตกแต่งเนื้อเยื่อ แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ตลอดจนภาวะโลหิตจางจากการสูญเสียเลือด แต่ที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ ได้มีการนำ Hyperbaric Chamber นี้มาบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการของโรคออทิซึมในเด็กด้วย ปัจจุบันการรักษาด้วยออกซิเจนความกดบรรยากาศสูงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งซึ่งพบว่าเด็กมีอาการดีขึ้นทั้ง 5 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ด้านสังคม กล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ภาษาและการช่วยเหลือตนเอง อีกทั้งไม่พบผลข้างเคียงในการรักษา จากการสัมภาษณ์ผู้ปกครองรู้สึกว่าเด็กดีขึ้น เช่น สมาธิดีขึ้น สื่อสารดีขึ้น อารมณ์ดีขึ้น แต่ทั้งนี้เด็กก็ต้องได้รับการรักษาด้วยการกระตุ้นพัฒนาการ และการรักษาอื่นๆ ประกอบกันด้วย มีแนวทางการรักษาหลายวิธีที่ทำให้ออทิสซึมดีขึ้นปัจจัยที่เป็นสาเหตุก็มีอยู่หลายปัจจัย จึงควรใช้หลายๆ วิธีประกอบกัน การรักษาจึงจะได้ผลดียิ่งขึ้น Snoezelen Room เป็นห้องที่ออกแบบให้มีสภาพแวดล้อมภายในห้องเหมาะกับวิธีการกระตุ้นการรับรู้และความรู้สึกที่หลากหลาย ที่เรียกว่า Multisensory อันได้แก่ การมองเห็น, การได้ยิน, การได้กลิ่น, การรับสัมผัส และการเคลื่อนไหว โดยมีหลักการง่ายๆ ก็คือ ช่วยส่งเสริมการเล่น การทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากประสาท การรับรู้ความรู้สึกหลาย ๆ ด้านดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น อาทิ การใช้แสง สีและเสียง ระบบประสาทการรับความรู้สึกเหล่านี้ต่างส่งผลต่อลูกน้อยทั้งในแง่ของการกระตุ้นเร่งเร้าหรือช่วยทำให้สงบ และผ่อนคลายได้เหมือนๆ กัน เปรียบเสมือนกับการที่เราถูกกระตุ้นเมื่ออยู่ในโรงหนัง หรือ รู้สึกสงบสบาย เมื่ออยู่ในสปานั่นเอง | ||||
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายท่านคงนึกสงสัยว่า ระบบประสาทการรับความรู้สึกเหล่านี้ เกี่ยวข้องกับสมาธิของลูกน้อยได้อย่างไร อยากให้คุณพ่อคุณแม่ลองนึกถึง ตอนที่เไปดูภาพยนตร์แอคชั่นต่อสู้บู๊ล้างผลาญ ลำพังถ้าได้ดูเพียงแค่ภาพคนต่อสู้กันก็คงจะไม่รู้สึกตื่นเต้นเท่าไหร่ แต่ลองมีระบบเสียงรอบทิศทางเข้ามาประกอบด้วยก็คงทำให้เราตื่นเต้นมากยิ่งขึ้น ถ้ายิ่งโรงภาพยนตร์บางโรงมีระบบภาพยนตร์ 3 มิติด้วยละก็คงจะตื่นเต้น เร้าใจมากขึ้นอีกหลายเท่า ขนาดว่าหนังจบไปตั้งนานแล้วแต่ก็ยังตื่นเต้นไม่หายเลย แต่ในอีกสถานการณ์หนึ่ง คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงเคยไปนวดผ่อนคลายตามสปาต่าง ๆ กันมาบ้าง ลองสังเกตตั้งแต่บรรยากาศภายในสปา การจัดสภาพแวดล้อม การใช้แสงสลัวๆ บางแห่งอาจได้ยินเสียงน้ำตกเบาๆ การถูกนวดสัมผัสร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นต่างๆ หากใครได้เข้าไปใช้บริการก็คงรู้สึกสบาย ผ่อนคลายไม่ต่างกันเป็นแน่แท้ จะเห็นว่าที่ยกตัวอย่างมานั้น ระบบต่างๆ ที่ได้กล่าวมาล้วนแต่มีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยทั้งสิ้น ในลูกน้อยก็คงไม่แตกต่างกัน ระบบประสาทการรับความรู้สึกเหล่านี้ต่างส่งผลต่อลูกน้อยทั้งในแง่ของการกระตุ้นเร่งเร้า หรือช่วยทำ ให้สงบและผ่อนคลายได้เหมือนๆ กัน ถึงแม้ว่าจะมีนวัตกรรมการบำบัดทางเลือก หรือมีเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยอย่างไร คงไม่เท่ากับความรัก และความใส่ใจของพ่อกับแม่ที่มีต่อลูกคนพิเศษ |
เรื่องแปลก ใหม่ น่าสนใจ ข่าวสาร บันเทิง สนุก เซ็กซี่ sexy ที่คุณ อยากรู้ ที่นี่ครับ ^^
3 นวัตกรร มบำบัด ทางเลือก เพื่อ "เด็กพิเศษ"
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ติดตาม เรื่องแปลก ใหม่ ตลก สนุก เซ็กซี่ sexy น่าสนใจอื่น ๆ หรือแวะมาทักทายกัน ได้ที่
ขอขอบคุณที่มา : email
www.facebook.com/somphon http://gplus.to/somphon www.twitter.com/samaphon www.facebook.com/somphon.me http://samaphon.blogspot.com/ |
ขอขอบคุณที่มา : email
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น