เรื่องแปลก ใหม่ น่าสนใจ ข่าวสาร บันเทิง สนุก เซ็กซี่ sexy ที่คุณ อยากรู้ ที่นี่ครับ ^^

SAMAZshop

Translate

12 "นายกรัฐมนตรี หญิง" ผู้ทรงอิทธิพลจากทั่วโลก


 


         กลายเป็นผู้หญิงที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดในขณะนี้ สำหรับ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"  เพราะตั้งแต่ก้าวลงสู่สนามการเมือง เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม จนกระทั่งพาพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฏาคม และเมื่อวันที่ 5 สิงหาคมที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะได้ลงมติให้เธอดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 และหากมีการโปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธย ก็จะทำให้เธอกลายเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยด้วย อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาเคยมีนายกรัฐมนตรีหญิงมาแล้วในหลายประเทศ ซึ่งเว็บไซต์ไทม์ก็ได้รวบรวมผู้นำประเทศจากทั่วโลกที่เป็นผู้หญิงมาให้อ่าน กัน  โดยหนึ่งในนี้มี "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ด้วย… ว่าแต่จะมีประเทศไหน และใครเคยดำรงตำแหน่งผู้นำหญิงบ้าง ตามไปดูกันค่ะ
 

 12 นายกรัฐมนตรีหญิงจากทั่วโลก 
 




ภาพ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ร่วมรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา วันที่ 1 สิงหาคม 

 1.  ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (Yingluck Shinawatra)

          แม้จะมีนักการเมืองและนักวิชาการหลายราย วิพากษ์วิจารณ์การก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเธอ ว่าอาศัยบารมีพี่ชายอย่าง พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่บัดนี้ลี้ภัยอยู่ต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา เธอสามารถเอาชนะการเลือกตั้งด้วยการโกยที่นั่งในรัฐสภาไปได้ 265 จาก 500 ที่นั่ง ทำให้เธอและสมาชิกพรรคเพื่อไทยได้เป็นฝ่ายจัดตั้งรัฐบาล
 
          นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จบการศึกษาสาขารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต สหรัฐอเมริกา และได้กลับมาบริหารงานในบริษัทที่พันตำรวจโททักษิณ เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น บริษัทชินวัตร ไดเร็กทอรี่ส์ จำกัด (ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท เทเลอินโฟ มีเดีย จำกัด มหาชน) และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ในเครือบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จากนั้นในวันที่ 16 พฤษภาคม เธอได้ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และเข้าสู่การเลือกตั้งผู้นำประเทศ จนได้รับคะแนนเสียงข้างมาก กลายเป็นฝ่ายจัดตั้งรัฐบาลและว่าที่นายกฯหญิงคนแรกของประเทศไทย
 
          แม้จะมีเสียงครหาว่าเธออาจเป็นเพียงตัวแทนที่พี่ชายอยู่เบื้องหลังคอยชักใย ในการบริหารประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม หลังการเป็นนายกรัฐมนตรีเต็มตัว นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีภารกิจสำคัญทำให้เห็นผลตามที่ได้หาเสียงเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท, มี ไว-ไฟ ใช้ฟรี หรือเรื่องให้เด็กนักเรียนมีแท็บเล็ตใช้ ซึ่งเธอต้องพิสูจน์ฝีมือตัวเองว่าสามารถทำได้ตามคำที่เคยกล่าวไว้โดยไม่ ทำลายเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งยังต้องฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่าง ไทย-กัมพูชา ที่ขณะนี้นับว่ายังตึงเครียด รวมทั้งสร้างความปรองดองระหว่างกลุ่มเสื้อเหลืองและเสื้อแดงด้วย

 
 2. เองเจล่า เมอเคล (Angela Merkel)

          เองเจล่า เมอเคล นายกรัฐมนตรีของประเทศเยอรมนี จัดได้ว่าเธอเป็นนักการเมืองหญิงที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกคนหนึ่ง โดยเธอจบการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาฟิสิกส์ แต่เธอมีความสนใจเรื่องการเมืองเป็นพิเศษ ในที่สุดเธอได้ที่นั่งในสภานิติบัญญัติของเยอรมนี ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกหลังจากเยอรมนีตะวันตกและตะวันออกได้กลับมารวม เป็นประเทศเดียวกันเมื่อปี 2533 และอีกหนึ่งปีให้หลัง เธอได้รับการแต่งตั้งจากนายเฮลมัค โคห์ล นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และต่อมาได้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองสหภาพคริสเตียน (Christian Democratic Union) ในปี 2543 เธอเป็นหญิงแกร่งที่เต็มไปด้วยความั่นใจอย่างล้นเหลือ โดยเธอเคยกล่าวกับนิตยสารไทม์เมื่อปี 2553 ไว้ว่า "ไม่เคยเลยสักครั้งที่ฉันจะประเมินตัวเองต่ำ ฉันมั่นใจแล้วก็ภูมิใจในตัวของฉันเอง และนั่นก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดเสียหน่อย" ส่วนทางด้านชีวิตส่วนตัว นางเมอเคลผ่านการแต่งงานมาแล้ว 2 ครั้ง และไม่มีบุตร 

 
 
 3. คริสติน่า เฟอร์นาเดซ เดอ เคิร์ชเนอร์ (Cristina Fernández de Kirchner)

          คริสติน่า เฟอร์นาเดซ เดอ เคิร์ชเนอร์ เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงจากประเทศอาร์เจนติน่า โดยถูกรับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งก่อนหน้านั้น ตำแหน่งผู้นำประเทศของอาร์เจนติน่าเป็นของนายเนสเตอร์ เคิร์ชเนอร์ ซึ่งเป็นสามีของเธอเอง แต่ คริสติน่า ก็ได้พิสูจน์ให้ประชาชนเห็นแล้วว่าเธอดำรงตำแหน่งผู้นำอาร์เจนติน่าด้วย ฝีมือของตัวเธอเอง ไม่ใช่ของสามีซึ่งเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี เธอมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับ อีวา เพอร์รอน นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอาร์เจนติน่า ด้วยบุคลิกที่เด็ดเดี่ยว และลีลาการกล่าวปราศรัยที่เฉียบคมของเธอ


 
 4. ดิลมา รอสส์เซฟฟ์ (Dilma Rousseff)

          ดิลมา รอสส์เซฟฟ์ นายกรัฐมนตรีหญิงจากบราซิล เจ้าของวาทะประกาศศักยภาพของเพศหญิง หลังจากที่เธอได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีของประเทศ เมื่อเดือนตุลาคม 2553 ว่า "พ่อแม่คนไหนที่มีลูกสาว ฉันอยากให้พวกคุณมองเข้าไปในตาของพวกเธอ แล้วบอกพวกเธอไปเลยว่า  ลูกผู้หญิงก็ทำได้!" โดยเธอได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 36 ของบราซิล ประเทศซึ่งมีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก เมื่อวันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมา ซึ่งนับว่าเธอเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศในแถบอเมริกาใต้ด้วย ทั้งนี้เธอได้ลั่นคำสัญญาหลังได้รับการรับเลือกให้เป็นผู้นำประเทศว่า จะสานต่อแนวทางที่นายลูล่า นายกรัฐมนตรีคนก่อนของบราซิลได้ทำเอาไว้ ด้วยเกียรติของเธอ
 

  5. จูเลีย กิลลาร์ด (Julia Gillard)

          จูเลีย กิลลาร์ด เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของออสเตรเลีย และได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2553 ต่อจากนายเควิน รัดด์ หลังจากเธอได้เป็นตัวแทนแกนนำขั้วที่คิดแตกต่างต่อการบริหารงานของนายรัดด์ โดยหน้าที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบหลักของเธอก็คือ ฟื้นฟู ออสเตรเลียจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทั้งนี้ เธอได้เรียกประชุมสภาทันทีหลังเข้ารับตำแหน่งได้เพียง 3 สัปดาห์ ซึ่งถือว่าเร็วกว่าวาระการประชุมที่ได้กำหนดไว้ตามปกติ และล่าสุดเธอก็รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปหลังจากชนะ คู่แข่งนายโทนี่ แอบบอต ไปอย่างฉิวเฉียด และได้สัดส่วนที่นั่งในจัดตั้งรัฐบาลไป 76 จาก 150 ที่นั่ง
 
 

  6. เอลเลน จอห์นสัน เซอร์ลีฟ (Ellen Johnson Sirleaf)

          เอลเลน จอห์นสัน เซอร์ลีฟ มีหนทางในชีวิตการเมืองมายาวนาน ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีของลิเบอร์เรีย เมื่อปี 2548 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งนับว่าเธอเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของทวีปแอฟริกาด้วย
 
          เซอร์ลีฟ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จากนั้นเธอได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีการคลังในสมัยที่นายซามูเอล โดยดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ในปี 2523 รัฐบาลของนายซามูเอล ถูกโค่นล้มจากทหาร ทำให้เธอต้องลี้ภัยไปอยู่ที่เคนยา และได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารของ ซิตี้แบงค์ ที่เคนยา ก่อนจะกลับเข้าลิเบอร์เลียในปี 2539 เพื่อลงเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี ซึ่งในครั้งนั้นเธอได้พ่ายแพ้ให้กับนายชาร์ลส์ เทเลอร์ และเธอได้ลองพยายามอีกครั้งในปี 2548 จนได้รับชัยชนะในที่สุด ยังให้เธอเป็นผู้นำประเทศลิเบอร์เรียมาจนถึงปัจจุบันนี้

 
 
  7. ชีค์ ฮาชินา วะเจด (Sheik Hasina Wajed)
 
          ชีค์ ฮาชินา วะเจด เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศบังคลาเทศ หนทางในชีวิตการเมืองของเธอไม่ราบรื่นนัก เมื่อครอบครัวของเธอถูกประหารไปถึง 17 คน รวมทั้งบิดาของเธอ ชีค์ มูจิเบอร์ ราห์มัน ผู้นำของบังคลาเทศในสมัยนั้น จากนั้น ฮาชินา ในวัย 28 ปี ได้ลี้ภัยไปต่างประเทศ และเธอยังเป็นผู้รอดชีวิตจากเหตุการลอบทำร้าย ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตในครั้งนั้นถึง 20 ราย
 
          ฮาชินะ ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งแรกในปี 2539 แต่ในปี 2544 เธอมีอันต้องสละตำแหน่งเนื่องจากมีการกล่าวหาว่า รัฐบาล ของเธอเป็นรัฐบาลที่ทำให้บังคลาเทศกลายเป็นประเทศที่มีการคอรัปชั่นมากที่ สุดในโลก อย่างไรก็ตาม ในเดือนมกราคม 2552 เธอได้กลับลงเลือกตั้งอีกครั้ง และได้รับชัยชนะเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลไปด้วยที่นั่ง 230 จาก 299 ที่นั่งในรัฐสภา

 
 
  8. โจฮันนา ซิเกอร์ดาร์ทร์ (Johanna Sigurdardottir)
 
          ก่อนที่จะหันเข้าสู่เส้นทางการเมือง นางโจฮันนา ซิเกอร์ดรอดเตอร์ เคยเป็นแอร์โฮสเตจมาก่อน และเมื่อผันตัวเข้าเป็นนักการเมืองก็ดูเธอจะประสบความสำเร็จในอาชีพด้านนี้ เป็นอย่างมาก เพราะเธอได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาติดต่อกันยาวนานถึง 8 สมัย ตั้งแต่ปี 2521 เป็นต้นมา จนในเดือนกุมภาพันธ์ 2552  เธอได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีของไอซ์แลนด์ ซึ่ง ขณะนั้นเธออายุ 67 ปี และเธอก็เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่เปิดกว้างเรื่องเพศที่สาม โดยในเดือนมิถุนายน 2553 ที่ไอซ์แลนด์ได้อนุมัติการแต่งงานของคนรักร่วมเพศ เธอก็เป็นหนึ่งในคนที่ควงคู่รักเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสด้วย

 
 
  9. ลอร่า ชินชิลล่า (Laura Chinchilla)

          ลอร่า ชินชิลล่า นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของคอสตาริก้า เคยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงของประเทศ และรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม มาก่อน นอกจากนี้ เธอยังเป็นหนึ่งในสองผู้ครองตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลของนายเอเรียส ซานเช่ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 เธอได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งผู้นำประเทศ ด้วยสัดส่วนคะแนน 47% จากผู้มาใช้สิทธิ์ทั้งหมด กล่าวได้ว่ารัฐบาลของเธอเป็นรัฐบาลแบบอนุรักษ์นิยม โดยนโยบายภายใต้การนำของเธอ ต่อต้านพวกรักร่วมเพศ การทำแท้ง และต่อต้านการอนุมัติให้มียาสำหรับลดอาการเมาค้างขายได้ถูกต้องตามกฏหมาย ด้วย
 
 

  10. ตารยา ฮาโลเนน (Tarja Halonen)

           ตารยา ฮาโลเนน เป็นผู้นำของประเทศฟินแลนด์ เติบโตมาจากครอบครัวชนชั้นกลาง ในกรุงเฮลซิงกิ ด้วยเหตุนี้ทำให้นางฮาโลเนน มีความเข้าใจอบ่างลึกซึ้งถึงความต้องการชนชั้นแรงงาน ทำให้เธอทำงานร่วมกับสหภาพแรงงานและองค์การสาธารณะประโยชน์ได้เป็นอย่างดี นางฮาโลเนน ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำของฟินแลนด์ ครั้งแรกในปี 2543 ซึ่งผู้นำหญิงคนแรกของฟินแลนด์ และได้รับเลือกให้กลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้งในปี 2549 จนถึงปัจจุบัน

 
 

  11. ดาเลีย กริโบสเกียท (Dalia Grybauskaite)
 
          ทันทีที่ นางดาเลีย กริโบสเกียท ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศลิทัวเนีย ในปี 2552 นักวิชาการจากฟากยุโรปถึงกับตั้งฉายาให้เธอว่า "หญิงเหล็กแห่งลิทัวเนีย" เนื่องจากคำพูดที่หนักแน่นและฝีมือคาราเต้ระดับสายดำของเธอ ก่อนหน้านั้นในปี 2542 เธอดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ก่อนจะได้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะกรรมาธิการยุโรป จนในปี 2552 ที่เธอได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นปีที่ลิทัวเนียกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนัก นางกริโบสเกียท พยายามประคับประคองเศรษฐกิจของประเทศอย่างสุดกำลัง โดยเฉพาะเรื่องการว่างงาน ซึ่งเปอร์เซ็นต์ผู้ว่างงานในประเทศพุ่งขึ้นสูงแตะ 16 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากร อย่างไรก็ตาม ด้วยความพยายามทุ่มเททำงานเต็มที่ทำให้เธอได้รับเลือกเป็นผู้นำประเทศ ด้วยคะแนนเสียงข้างมากถึง 68 เปอร์เซ็นต์ของผู้มาใช้สิทธิ์
 

 

  12. กัมลา เปอร์ซาด-บิสเซสซาร์ (Kamla Persad-Bissessar)
 
          กัมลา เปอร์ซาด-บิสเซสซาร์ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศตรินิแดดและโตเบโก และเป็นผู้นำของสภาความร่วมมือแห่งชาติ หรือ ยูเอ็นซี (UNC, United National Congress) ที่ได้รวมความร่วมมือของพรรคการเมืองถึง 5 พรรคเข้าไว้ด้วยกัน นางบิสเซสซาร์เคยดำรงตำแหน่งผู้นำอัยการสูงสุด ก่อนบิสเซสซาร์ที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2553 ซึ่งภารกิจที่เธอมุ่งหมายจะทำให้สำเร็จคือ การลดจำนวนเหตุอาชญากรรมในประเทศ จัดตั้งระบบบำนาญ รวมทั้งต่อสู้กับความอดอยาก ยากจนของประเทศ ซึ่งเป็นสัดส่วนของประชากรราว 1 ใน 5 ของประเทศทีเลยทีเดียว นอกจากนี้ เธอยังเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้มีเมตตาและทำงานเพื่อสังคม โดยเธอได้รับเลี้ยงหลาน 2 คน ซึ่งเป็นลูกของพี่ชายของเธอซึ่งเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อ 20 ปีที่แล้วด้วย
 
          และ นี่คือ 12 สตรีที่มีชื่อเป็นผู้นำประเทศ  … สำหรับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย แม้ว่าเธอจะยังไม่ได้พิสูจน์ฝีมือในการบริหารประเทศ แต่หวังว่า เธอคงจะเป็นสตรีขี่ม้าขาวมาช่วยทำให้ประเทศผ่านวิกฤตทั้งการเมือง เศรษฐกิจ ไปได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ติดตาม เรื่องแปลก ใหม่ ตลก สนุก เซ็กซี่ sexy น่าสนใจอื่น ๆ หรือแวะมาทักทายกัน ได้ที่
www.facebook.com/somphon http://gplus.to/somphon www.twitter.com/samaphon www.facebook.com/somphon.me http://samaphon.blogspot.com/

          ขอขอบคุณที่มา : email