เรื่องแปลก ใหม่ น่าสนใจ ข่าวสาร บันเทิง สนุก เซ็กซี่ sexy ที่คุณ อยากรู้ ที่นี่ครับ ^^

SAMAZshop

Translate

หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน โรคใกล้ตัว เด็กเล็กพึงระวัง

โรคภัยเกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยเฉพาะกับเด็ก ๆ “ หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน ” เป็นอีกโรคหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม!! 
   
พ.ต.อ.นพ.ธนิต จิรนันท์ธวัช อายุรแพทย์โรคไต หัวหน้า หน่วยไต โรงพยาบาลตำรวจ อธิบายถึงการเกิดของโรคนี้ว่า โดยปกติหน่วยไตของคนเรานั้น เป็นหน่วยเล็ก ๆ กระจายอยู่ในเนื้อไต มีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ต้องส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยไตแต่ละข้างจะมีหน่วยไตอยู่ข้างละประมาณ 1 ล้านหน่วย เปรียบเหมือนกับทหาร ทำหน้าที่ขับของเสีย ปรับสมดุลของน้ำ และเกลือแร่ เพื่อผลิตเป็นน้ำปัสสาวะออกมา 
   
โรคนี้จะเกิดหลังจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า เบตา-สเตรปโตค็อกคัส ระหว่าง 7-21 วัน หรือโดยเฉลี่ย 10-14 วัน โดยอวัยวะ 2 จุดสำคัญที่มักจะติดเชื้อ คือ บริเวณลำคอและผิวหนัง ทำให้มีอาการเจ็บคอ คออักเสบ  หรือ เป็นตุ่ม ฝี หนอง ขึ้น บริเวณผิวหนัง พบในเด็กได้บ่อยกว่าในผู้ใหญ่ โดยอายุ  ที่พบมากที่สุดจะอยู่ในช่วง 2-6 ขวบ
    
เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นที่หน่วยไต จะทำให้ร่างกายเสียกระบวนการทำงาน ขับปัสสาวะออกมาได้น้อย มีของเสียคั่งอยู่ในเลือดมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดอาการบวม ปัสสาวะออกมาเป็นสีแดงและมีโปรตีนรั่วมาในปัสสาวะได้
   
“คนไข้จะมาด้วย อาการบวม บริเวณหน้าและรอบดวงตา โดยเฉพาะในช่วงเช้า และอาจจะมีอาการบวมที่ขาร่วมด้วย โดยจะเริ่มจากบวมเล็กน้อย บวมตึง ไปจนถึงบวมมาก โดยอาการบวมดังกล่าวจะไม่เหมือนกับคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจ เพราะโรคหัวใจจะเป็นการบวมน้ำที่ปอด คนไข้จะมีอาการหอบเหนื่อยด้วย และไม่เหมือนกับอาการบวมที่เกิดจากโรคตับแข็ง เพราะโรคตับแข็งจะมีอาการบวมที่ท้อง เรียกว่ามีน้ำในท้อง รวมทั้ง ตาจะเหลือง ทำให้สามารถแยกโรคได้”
   
อาการต่อมาของโรคนี้ คือ ปัสสาวะผิดปกติ โดยจะปัสสาวะออกมาเป็นเลือด มีตั้งแต่สีแดงสดไปจนถึงสีแดงเข้ม รวมทั้ง ความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนไข้ที่วัยไม่ควรมีความดันโลหิตสูง อย่างวัยเด็ก หรือ วัยหนุ่มสาว เพราะโรคความดันโลหิตสูงจะเป็นอาการของคนสูงอายุ หรือคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ถ้าอายุน้อยแล้วเป็น ให้สงสัยไว้ว่าอาจเป็นโรคหน่วย ไตอักเสบได้ โดยมีตั้งแต่ความดันโลหิตสูงเล็กน้อยไปจนถึงความดันโลหิตสูงมากได้ และอาจมีอาการอื่น ๆ ตามมาได้ด้วย เช่นกัน อาทิ ปวดหลัง แต่ส่วนใหญ่ร้อยละ 90-95 เปอร์เซ็นต์ มีสาเหตุจากกระดูกและกล้ามเนื้อไม่ใช่อาการปวดที่มาจากโรคไต และในผู้ป่วยบางรายจะมีการทำงานของไตเสื่อมลง หรืออาจรุนแรงจนเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้
   
“การตรวจพบของแพทย์ สามารถทำได้โดย การตรวจปัสสาวะ เพราะไตจะดีเป็นปกติหรือไม่นั้น ผลลัพธ์อยู่ที่ปัสสาวะ ดังคำขวัญที่ว่า ตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ ปัสสาวะจึงเป็นหน้าต่าง ของไตเช่นกัน ฉะนั้นถ้าตรวจ ปัสสาวะแล้วมีความผิดปกติ จะสะท้อนให้เห็นว่า ไตคนนั้นกำลังมีความผิดปกติเกิดขึ้น”
   
การตรวจปัสสาวะ สามารถ ทำได้ 2 วิธี คือ ทางเคมี กับ การส่องกล้องจุลทรรศน์ โดยวิธี ทางเคมี จะตรวจพบว่า   มีเลือด หรือ โปรตีนรั่วออกมาปนกับปัสสาวะ ซึ่งการตรวจพบโปรตีนรั่วนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะคนทั่วไปไม่ ควรมีโปรตีนรั่วออกมาทางปัสสาวะได้เลย ถ้าตรวจพบต้องสันนิษฐานว่า มีโรคไตหลบซ่อนอยู่
   
อีกวิธีหนึ่ง คือ การตรวจ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยการนำปัสสาวะที่ปั่นแล้วมาส่อง กล้องตรวจ ถ้ามี ความผิดปกติจะตรวจพบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ จำนวนมากกว่า 5 ตัว ต่อ 1 ฟิลล์ของกล้องที่ใช้กำลังขยายสูง การตรวจพบเม็ดเลือดแดงที่มีความผิดปกติมากกว่า 5 ตัว มีนัยสำคัญ คือต้องค้นหาเม็ดเลือดแดงนี้ ว่ารั่วมาจากที่ใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ถ้าพบเม็ดเลือดแดงออกมาในปริมาณมาก
   
รวมทั้ง ลักษณะของเม็ดเลือดแดง โดยปกติเม็ดเลือดแดงจะมีลักษณะกลม แต่ถ้าเมื่อไร มีลักษณะผิดรูป บิดเบี้ยว คดเคี้ยวไป ให้สงสัยไว้ว่า เม็ดเลือดแดงที่ผิดปกตินั้นจะออกมาจากหน่วยไต ที่มีความเสียหายจากการที่หน่วยไตเกิดการอักเสบ
   
ด้านการรักษา พ.ต.อ. นพ.ธนิต กล่าวเพิ่มเติมว่า เริ่มจากรักษาตามอาการที่นำคนไข้มาพบก่อน เนื่องจากในเวลาคนไข้มาพบหมอ อาการที่เป็นจากการติดเชื้อสาเหตุของโรคนี้อาจจะหายไปแล้ว เพราะโดยปกติทั่วไปจะเกิดอาการแสดงของโรคไตอักเสบ หลังจากการติดเชื้อ 7-21 วัน แต่อาการแสดงของการติดเชื้อที่บริเวณลำคอและผิวหนัง ส่วนใหญ่ จะดีขึ้นแล้วหรือหายไปได้เองภายใน 7 วัน ทำให้เวลามาพบหมอไม่มีอาการแสดงที่ชัดเจนหรือตรวจไม่พบการติดเชื้อ
   
ดังนั้น จึงเป็นการรักษาตามอาการที่ยังพบอยู่ในคนไข้ อย่างเช่น อาการบวม ซึ่งแพทย์จะให้คนไข้พักผ่อน งดของเค็ม เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของเกลือ รวมทั้ง ลดปริมาณน้ำดื่มลง ในคนไข้บางรายมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาขับ ปัสสาวะช่วย ในการขับน้ำและเกลือที่เกินออกจากร่างกาย
   
“ถ้าคนไข้ยังมีความดันโลหิตสูงมากอยู่ แม้ว่าจะได้รับยาขับปัสสาวะแล้ว จะให้ยาลดความดันโลหิตสูงเพิ่ม ส่วนการรักษาอาการติดเชื้อ จะใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะไม่มีอาการติดเชื้อให้เห็นแล้ว เนื่องจากเป็นโรคที่หายได้เอง แต่ถ้ายังมีอาการติดเชื้ออยู่ จำเป็นที่จะต้องใช้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อ ซึ่งจะเป็นยากลุ่มเพนนิซิลลิน หรือ กลุ่มอีริโทรมัยซิน” 
   
โรคไตเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ถ้าไม่รีบเข้ารับการรักษาอาจจะเข้าสู่ภาวะโรคไต เรื้อรัง และไตวายระยะสุดท้ายได้ ฉะนั้น เมื่อมีอาการหรือเป็นโรคเกี่ยวกับไตแล้ว ควรรีบพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษา อย่าปล่อยให้เรื้อรัง เพราะถือได้ว่าเป็นโรคที่ทำลายอวัยวะที่สำคัญของ ร่างกาย ที่จะส่งผลให้คุณภาพชีวิตถดถอยลงได้.    

เคล็ดลับสุขภาพดี : วิธีการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

เมื่อเราเกิดอาการเจ็บป่วยไม่สบายขึ้นมาจำเป็นต้องใช้ยาในการบำบัดรักษาโรค แต่หากไม่ทราบว่าการซื้อยาทุกครั้งจะต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง วันนี้เคล็ดลับสุขภาพดีมีวิธีการเลือกซื้อและการใช้ยาที่ถูกต้องเพื่อความปลอดภัยของร่างกายมาฝาก
   
นายแพทย์อัมพร อิทธิระวิวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ บริษัทไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวแนะนำว่า เวลาเราเลือกซื้อเสื้อผ้าหรือของเล่นให้ลูก ๆ เรายังดูว่าแบรนด์อะไร ทำจากที่ใด ใครเป็นผู้ผลิต ฉะนั้นผู้ป่วยเองก็ควรจะปฏิบัติเช่นเดียวกันในเวลาที่เลือกซื้อหรือบริโภคยา เนื่องจากมาตรฐานของผู้ ผลิตยาแต่ละรายและคุณภาพของยาแต่ละตัวไม่ เท่ากัน ระดับความบริสุทธิ์และสม่ำเสมอของยาแต่ละโดส ก็มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับคุณภาพ ในการผลิตของบริษัทยาแต่ละราย   ซึ่งส่งผลต่อความสามารถหรือประสิทธิ ภาพของยาในการออกฤทธิ์ทางการรักษาและความปลอดภัยของยานั้น ๆ โดยผู้ป่วยเองควรต้องเช็กดูให้ดีว่าผลิตจากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้หรือไม่ นอกจากนี้ผู้ป่วยควรทราบถึงสิทธิของตนเองว่ามีสิทธิที่จะฟ้องร้องผู้ผลิตยาได้หรือไม่ หากยาที่ซื้อมามีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานหรือบกพร่องเช่นเดียวกับสินค้าสำหรับ อุปโภคทั่วไป
  
นอกจากนี้ คุณหมออัมพร ยังได้แนะนำถึงขั้นตอนการใช้ยาอย่างปลอด ภัยง่าย ๆ 7 ข้อด้วยกัน คือ 1.ปรึกษาแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งก่อนเริ่มใช้ยา รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เกี่ยวกับเวลา ขนาด และวิธีการใช้ยา 2.แจ้งรายการยาที่ใช้ประจำและประวัติการแพ้ยาแก่แพทย์และเภสัชกร 3.เช็กแหล่งผลิตยาให้แน่ใจว่าเป็นบริษัทที่เชื่อถือได้และมีคุณภาพ การผลิตตามมาตรฐานสากล 4.ตรวจสอบวันหมดอายุของยาบนฉลากยาทุกครั้งก่อนใช้หรือบริโภคยา 5.เก็บรักษายาให้ถูกวิธีตามอุณหภูมิที่ระบุในเอกสารกำกับยา 6.สังเกตอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น หากมีข้อกังวลใด ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที และ 7.อ่านเอกสารกำกับยาให้เข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
   
เป็นอย่างไรกันบ้างคะวิธีการใช้ยาอย่างปลอดภัยทั้ง 7 ข้อนี้ คงไม่ยากเกินไปที่ทุกท่านจะปฏิบัติตามนะคะ เพราะหากสามารถปฏิบัติได้ก็จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้อย่างมีประสิทธิ ภาพและมีความปลอดภัยในชีวิตสู่การมีสุขภาพที่ดีต่อไปค่ะ. 

------------------------------------------------------------------------------------------

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ ที่เพื่อน ๆ ส่งมาให้ครับ ^^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ติดตาม เรื่องแปลก ใหม่ ตลก สนุก เซ็กซี่ sexy น่าสนใจอื่น ๆ หรือแวะมาทักทายกัน ได้ที่
www.facebook.com/somphon http://gplus.to/somphon www.twitter.com/samaphon www.facebook.com/somphon.me http://samaphon.blogspot.com/

          ขอขอบคุณที่มา : email