
ท่านเป็นลูกศิษย์ผู้สืบทอดปฏิปทาของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่ยังทรงธาตุทรงขันธ์เป็นที่พึ่ง ที่อาศัยของเหล่าศิษย์กรรมฐาน ทั้งบรรพชิต และฆราวาส ปฏิปทาขององค์หลวงตาถอดแบบมาจาก ปฏิปทาของหลวงปู่มั่น โดยตรง ท่านสามารถชี้แนะแนวทางให้กับ เพื่อนสหธรรมิกให้ได้บรรลุผ่านในปัญหาของการภาวนาเป็นจำนวน หลายรูปด้วยกัน ท่านมีศิษยานุศิษย์ฝ่ายบรรพชิตที่ได้กลายเป็น พ่อแม่ครูบาอาจารย์เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์หลวงตา ได้เป็นผู้นำในการทำผ้าป่าช่วยชาติ แก้วิกฤตการเงินภายในประเทศ ซึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทยไม่เคยมีมาก่อน ปัจจุบัันองค์หลวงตา ยังทรงธาตุขันธ์อยู่ เศษกายหรือสิ่งใด ๆ ก็ตามที่องค์ท่านได้บริโภค ล้วนแต่ได้กลายเป็นพระธาตุ เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของพุทธศาสนิกชน เป็นจำนวนมาก

พระธาตุอันเกิดจากเส้นเกศาขององค์หลวงตา มีลักษณะเป็นเกร็ดเล็ก ๆ สีแดง

เส้นเกศาธาตุขององค์หลวงตามีลักษณะใสประดุจใยแก้ว

พระ ธาตุชุดนี้เป็นพระธาตุที่แปรสภาพจากชานหมากขององค์หลวงตา ซึ่งเจ้าของพระธาตุ ได้เก็บชานหมากขององค์หลวงตามาไว้บูชาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ปัจจุบันชานหมากเหล่านั้นได้แปรสภาพเป็นพระธาตุโดยสมบูรณ์แบบ มีสีสัน พรรณะ เหมือนพระบรมสารีริกธาตุ เป็นที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง

พระ ธาตุชานหมากขององค์หลวงตาที่ผู้มีจิตศรัทธาได้มอบถวายเข้าพิพิธภัณฑ์พระธาตุ บูรพาจารย์วัดสันติธรรม จำนวน ๑๒ องค์ ส่วนองค์ที่เป็นเกร็ดสีแดง เป็นพระธาตุเกศา

ภาพขยายพระธาตุชานหมากองค์เล็กมีลักษณะใสเป็นปริมณฑล ขนาดเท่าเมล็ดผักกาด

ณ วิหารบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ทีมงานเว็ปไซต์ ได้ไปนมัสการหลายครั้ง นับตั้งแต่เริ่มสร้างเป็นต้นมา และได้สังเกตที่เจดีย์แก้วบรรจุนขาธาตุ (เล็บ) ขององค์หลวงตา พบว่ามีนขาธาตุองค์หนึ่งได้แปรสภาพจากเล็บ กลายเป็นพระธาตุสมบูรณ์แล้ว จึงได้พยายามถ่ายภาพมาให้ชม

เจดีย์บรรจุนขาธาตุ ประดิษฐานหน้าหุ่นขี้ผึ้นรูปเหมือนขององค์หลวงตามหาบัว

นขาธาตุขององค์หลวงตาแปรสภาพเป็นพระธาตุพรรณเหลืองอำพัน โดยสมบูรณ์
ถ่ายภาพเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

เพื่อ ความหลากหลายทางข้อมูล จึงขออนุญาตนำข้อมูลจาก http://www.doisaengdham.com/article_detail.php?id=137 มานำเสนอในที่นี้ด้วยเพื่อให้เครื่องเจริญศรัทธาของท่านผู้อ่าน
ขอ เล่าเกร็ดที่น่าสนใจ เนื่องจากผู้เขียนได้มีโอกาสพบเห็นเหตุการณ์ที่น่าแปลกใจ คือเส้นเกศาของ หลวงตามหาบัวที่บรรจุในผะอบ เกิดเม็ดสีดำเล็ก ๆ จำนวนมาก มีลักษณะเป็นเงามันสวยงามระยิบระยับ ส่วนเกศานั้นไม่พบ ผู้เป็นเจ้าของได้เล่าว่าเกศาของหลวงตานี้ได้เก็บมานานนับ ๑๐ ปีแล้ว ซึ่งในขณะนั้นหลวงตาท่านยังไม่สูงวัยมากนัก ยังมีเส้นผมสีดำ หลังจากนั้น ปลายเดือนเมษายน ๒๕๕๑ ได้ไปดูแลหิ้งพระ ก็พบผะอบปรากฏลักษณะดังกล่าว

จากภาพ ผะอบที่บรรจุเกศาหลวงตามหาบัว ไม่ปรากฏเส้นเกศา แต่มีวัตถุลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ สีดำเป็นมันเงาสวยงาม

เมื่อ สำรวจดู พบว่าที่ก้นผะอบ จะมีเส้นเกศาเล็ก ๆ ปรากฏอยู่ และมีลักษณะสั้นลงกว่าเดิมประมาณ ๕-๖ ส่วน ภาพขยาย ๒๐๐ เท่า จะเห็นความมันเงาสวยงามคล้ายลักษณะของพระธาตุอย่างชัดเจน เป็นไปได้ว่า เส้นเกศาของท่านได้กลายเป็นพระธาตุ เช่นของครูบาอาจารย์บางองค์ที่เคยปรากฎ
www.paisalvision.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น