เรื่องแปลก ใหม่ น่าสนใจ ข่าวสาร บันเทิง สนุก เซ็กซี่ sexy ที่คุณ อยากรู้ ที่นี่ครับ ^^

SAMAZshop

Translate

“มหัศจรรย์แห่งพรรณไม้” ประจำปี 2553 “Power of Love...Power of Roses” ( สวยจัง ;)

ได้ทราบข่าวงาน “มหัศจรรย์แห่งพรรณไม้” ประจำปี 2553 “Power of Love...Power of Roses”จาก Blog OK Nation และคำชวนจากบรรดาเพื่อนฝูง บวกกับเวลาว่างในทิศทางสายสุขุมวิทที่เหมาะเหม็งเสียเหลือเกิน ทำให้วันนี้ได้แวะเวียนเข้าไปเที่ยวชมในงาน “มหัศจรรย์แห่งพรรณไม้” ประจำปี 2553 “Power of Love...Power of Roses” ดังกล่าวที่ห้างเซ็นทรัล ชิดลม
แต่อาจจะเป็นเพราะบุญมี แต่กรรมบัง เดินเทียวชมภายในงานได้ไม่เท่าไหร่ เจ้าเครื่องเรียกทาสกลับดังขึ้น พร้อมกับเสียงปลายทางที่ว่าให้รีบกลับเข้ากรมกองแต่โดยด่วน เพราะงานเข้าเสียแล้ว ทำให้ต้องรีบกลับก่อนที่งานจะเริ่มต้น
แต่ก็ได้ดื่มด่ำซึมซับกับบรรยากาศภายในงานพอสมควร โดยเฉพาะบรรดากุหลาบหลากหลายสายพันธุ์ที่ได้รับการนำมาจัดแต่งไว้ภายในห้างฯ อย่างสวยงาม และยังหาดูได้ยาก ได้แต่แอบคิดในใจว่า "ไม่เป็นไรงานยังมีถึงวันที่ 1 พฤศจิกา คงจะหาเวลามาแวะชมได้อีกแน่นอน" แต่ก่อนกลับยังไม่วายเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ "กุหลาบ" แสนสวยภายในงานที่ได้รับอภินันทนาการจากทางห้างมาฝากกันค่ะ
“Garden of Love…Garden of Roses” คือ สวนกุหลาบขนาดใหญ่สะพรั่งกลางลานมรกต หลากสีหลายพันธุ์ ร่วมกับไม้ดัดรูปสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งดอกกุหลาบทั้งหมดที่นำมาจัดแสดงในงานครั้งนี้ ทั้งสวนกุหลาบและในห้างฯ ได้รับความสนับสนุนจากมูลนิธิโครงการหลวงโดย ม.จ.ภีศเดช รัชนี ทรงพระอนุญาตให้นำสายพันธุ์โบราณที่หาชมได้เฉพาะสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง สายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งถูกพัฒนาโดยสถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ มาจัดแสดงร่วมกับสายพันธุ์อื่นๆ จากแหล่งเพาะพันธุ์ชั้นดี รวมกุหลาบที่นำมาจัดแสดงในครั้งนี้ มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ จำนวนนับล้านดอก
สำหรับดอกกุหลาบจากมูลนิธิโครงการหลวงที่นำมาร่วมจัดแสดง มี 3 ความพิเศษ ด้วยกัน ความพิเศษแรก คือ กุหลาบดำ ได้นำมาแสดงครบ ทั้ง 4 สายพันธุ์ เป็นครั้งแรก ความพิเศษต่อมา คือ กุหลาบอังกฤษโบราณ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่าง โมเดิร์นโรส กับ การ์เดนวาไรตี้ โดดเด่นด้วยกลีบดอกอ่อนช้อยสวยงาม นำมาแสดง 4  สายพันธุ์ และความพิเศษที่สาม คือนำ 4 สายพันธุ์ที่เพิ่งพัฒนาขึ้นใหม่ มาจัดแสดงที่นี่เป็นครั้งแรก
กุหลาบสีดำ    (Black Rose)
กุหลาบสีดำ ที่ทำการวิจัยและขยายพันธุ์ โดยมูลนิธิโครงการหลวง ได้เริ่มต้นจากการนำเข้ามาจากประเทศเยอรมัน เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว โดย คุณสืบศักดิ์ นวจินดา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ซึ่งได้เดินทางไปดูงานที่ประเทศเยอรมนี แล้วพบว่ามีกุหลาบสายพันธุ์แบล็กโรสหรือกุหลาบดำ มีสีสะดุดตา เพราะตามปกติแล้วกุหลาบส่วนใหญ่จะมีสีแดงเป็นหลัก แต่กุหลาบพันธุ์ดังกล่าว มีลักษณะสีแดงเข้มมากเหมือนสีเลือดหมู จนเกือบดำเหมือนกำมะหยี่ เมื่อบานเต็มที่มีขนาดใหญ่ จึงนำกุหลาบพันธุ์ดังกล่าวมาปลูกครั้งแรกที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลานานหลายปี กว่าจะสามารถปรับตัวสายพันธุ์ให้เข้ากับภูมิอากาศบ้านเราได้ จนกระทั่งให้ผลผลิตมีดอกใหญ่เหมือนถิ่นกำเนิดที่ประเทศเยอรมนีไม่ผิดเพี้ยน
กุหลาบสายพันธุ์แบล็กโรส หรือ กุหลาบดำ ที่โครงการหลวงใช้เวลาในการศึกษาและทดสอบมานานกว่า 10 ปี แล้วนั้น ทำให้ทราบว่า กลุ่มกุหลาบสีดำ คือ แบล็กบัคคาร่า/ แบล็กเมจิก/ แบล็กบิวตี้/ บัคคาโร มีความโดดเด่นเรื่องสี เพราะเป็นกุหลาบสีแปลก และมีความพิเศษไม่เหมือนดอกกุหลาบชนิดอื่น แต่ไม่เป็นที่นิยมเหมือนกุหลาบสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีสีสันสวยงามในท้องตลาดทั่วไป
ปัจจุบัน กุหลาบสีดำมีปลูกอยู่ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง ซึ่งมีสภาพแวดล้อมและมีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี จึงเหมาะสมกับการปลูก รวมทั้งผ่านการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับสภาพอากาศภาคเหนือ และการผลิตกุหลาบในกลุ่มแบล็กโรสหรือกุหลาบดำของโครงการหลวงเป็นการผลิตกุหลาบในเชิงคุณภาพโดยการปลูกภายใต้โรงเรือนพลาสติกในพื้นที่จำกัด มีการจัดการการผลิตและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่ดี โดยใช้ผู้ที่มีความชำนาญ ทำให้กุหลาบที่ได้มีคุณภาพดี
นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงดอกไม้ในโครงการหลวงอีกกว่า 100 สายพันธุ์ในทุกชั้นของห้างเซ็นทรัลชิดลมแห่งนี้อีกด้วย ซึ่งนับว่าหาดูได้ยาก และไม่ต้องขึ้นเหนือไปดูถึงโครงการพระราชดำริเลยทีเดียว และที่น่าสนใจที่สุดเห็นจะได้แก่นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงฉายพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต พระบรมราชินีนารถ ซึ่งแสดงถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ในด้านนี้อีกด้วย งานจะมีตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้เท่านั้นนะค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ติดตาม เรื่องแปลก ใหม่ ตลก สนุก เซ็กซี่ sexy น่าสนใจอื่น ๆ หรือแวะมาทักทายกัน ได้ที่
www.facebook.com/somphon http://gplus.to/somphon www.twitter.com/samaphon www.facebook.com/somphon.me http://samaphon.blogspot.com/

          ขอขอบคุณที่มา : email